Page 85 - ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย
P. 85
ผลของแนวปฏิบัติทำงกำรพยำบำลเฝ้ำระวังอำกำรส ำคัญที่น ำไปสู่ภำวะคุกคำมชีวิต
ของผู้บำดเจ็บรุนแรง หน่วยงำนอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยำบำลประจวบคีรีขันธ์
นางสาวพนิดา ไกรนรา และสุดารัตน์ ข าอนันต์
โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
ั
ควำมเป็นมำและปญหำวิจัย
ุ
สภาวการณ์ในปัจจุบัน พบว่า สถานการณ์อบัติเหตุทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายต่อชีวิต
ครอบครัว ชุมชน และทรัพย์สินเป็นจ านวนมาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
ั
ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ผู้บาดเจ็บอาจมีอนตรายถึงชีวิตอย่างทันทีทันใด ช่วงเวลา
ของผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากอบัติเหตุ มี 3 ระยะ ซึ่งประมาณร้อยละ 30 ของผู้บาดเจ็บที่เสียชีวิต จะเสียชีวิต
ุ
ในช่วงระยะเวลาที่สอง (Early death) ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ ถ้าในช่วงระยะเวลานี้
มีการประเมินสภาวะผู้บาดเจ็บอย่างรวดเร็ว เพื่อค้นหาภาวะคุกคามของชีวิต (Life - threatened Condition)
และมีการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ดี รวดเร็วและถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ ผู้บาดเจ็บก็จะมีโอกาส
รอดชีวิต สถิติโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ พบผู้บาดเจ็บที่มีระดับการคัดแยกระดับ 1 และระดับ2 ตามเกณฑ์
การคัดแยกประเภทผู้ป่วย MOPH ED Triage ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี พ.ศ. 2563 พบผู้บาดเจ็บ
รุนแรงระดับ1และระดับ 2 จ านวน 833 ราย และ 881 ราย ในปีพ.ศ. 2564 พบอตราการเสียชีวิตภายใน
ั
24 ชั่วโมง หลังการบาดเจ็บรุนแรงร้อยละ 10.76 ในปี พ.ศ. 2563 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15.2 ในปี พ.ศ. 2564
ปัจจุบันบทบาทการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยเร่งด่วนและวิกฤตฉุกเฉินก่อนถึง
การบ าบัดรักษาเฉพาะ (Definitive Care) เริ่มท าหน้าที่ตั้งแต่รับแจ้งเหตุ การให้ค าแนะน า การช่วยเหลือ
ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล รวมทั้งเมื่อถึงหน่วยฉุกเฉิน
ในโรงพยาบาล การปฏิบัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพอลดการสูญเสียชีวิต หรืออวัยวะ บรรเทาความรุนแรง
ื่
การบาดเจ็บหรืออาการป่วย เช่น การจัดการทางเดินหายใจ การไหลเวียนและการให้ยาที่จ าเป็น การปฏิบัติการ
ดังกล่าวของพยาบาลวิชาชีพ อาจได้รับการฝึกอบรมในบางทักษะระยะสั้น เพียงหนึ่งถึงสองสัปดาห์ หรือไม่เคย
ิ่
ได้รับการฝึกอบรมเลย แต่มีทักษะเพมขึ้นจากการเรียนรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานในแผนกฉุกเฉิน
ท าให้มาตรฐานความรู้และทักษะของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยฉุกเฉิน อาจมีความแตกต่างกัน
และอาจมีผลกับคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลระยะฉุกเฉิน ทั้งด้านการตัดสินใจท าหัตถการเพอช่วยชีวิตขั้น
ื่
สูง การช่วยเหลือและแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ
ุ
กรองได อณหสูต พบว่า การมีแนวปฏิบัติทางคลินิก ในการดูแลผู้ป่วยอบัติเหตุที่มีภาวะคุกคามชีวิตช่วยให้ผู้
ุ
ปฏิบัติมีแนวทางการตัดสินใจและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือ ท าให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น
ผู้วิจัยจึงสนใจพฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเฝ้าระวังอาการส าคัญที่น าไปสู่ภาวะคุกคามชีวิต
ั
ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บโดยใช้แนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บขั้นสูง (Advanced trauma life
support: ATLS) เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้รับการยืนยันถึงประสิทธิภาพน ามาปรับใช้ในการดูแลผู้บาดเจ็บ
ให้สามารถน าไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง เหมาะสมกับสภาพปัญหาสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง จึงสามารถ
ช่วยให้พยาบาลมีเครื่องมือในการประเมินสภาพผู้ป่วยแรกรับ การให้การพยาบาลและเฝ้าระวังอย่างครอบคลุม
และถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการวินิจฉัยการพยาบาลที่ผิดพลาด ส่งผลให้ผู้บาดเจ็บได้รับการดูแลที่ดีมีคุณภาพ
ตามเป้าหมายและส่งผลดีต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้รับบริการ เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตผู้บาดเจ็บได้
ผลงานวิชาการ Smart Referral System for “One Province One ER” 2023 81