Page 287 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 287
G28
3.5 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
( Content Analysis ) 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน Chi-Square Test
3.6 ระยะเวลา ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567
4. ผลการศึกษา
4.1 เชิงคุณภาพ พบว่า สถานบริการที่ดำเนินการได้สำเร็จ 1. มีการแบ่งจุดให้บริการชัดเจน
เป็นสัดส่วน 2. มีการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมฐานข้อมูลผู้ป่วยในระบบทันที 3.ยกเลิกการบันทึกด้วยกระดาษ
ลดความซ้ำซ้อน 4. มีการสำรองฐานข้อมูลอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อวัน 5. มีการตั้งค่าเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ
ดิจิทัลการแพทย์อื่น ๆ
รูปแบบระบบบริการการแพทย์ปฐมภูมิในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดย
เทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ยืนยันตัวตนที่ตู้ Kiosk ที่พัฒนาขึ้น ซักประวัติและบันทึก ใน
ระบบ 2. ตรวจรักษา / จ่ายยา / หัตถการ และบันทึกในระบบ 3. บริการด้วยดิจิทัลสุขภาพอื่นตามระบบ 4.
สำรองฐานข้อมูล ( 12.00 น. / 16.30 / 18.30 หรือทันทีเมื่อมีไฟดับด้วยเครื่องสำรองไฟ )
4.2 เชิงปริมาณ พบว่า ความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลโดยวิธีการบันทึกแบบเดิมและแบบที่
พัฒนาขึ้น ไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
5. อภิปรายผล
รูปแบบระบบบริการการแพทย์ปฐมภูมิในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเทคโนโลยี
ดิจิทัลสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ส่งผลให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ 1. เกิดความสะดวกรวดเร็วในการบริการ
ระบบส่งต่อไร้รอยต่อและลดความซ้ำซ้อนของระบบบริการ 2. มีระบบบริการการแพทย์ปฐมภูมิที่สามารถ
รองรับเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ 3. ตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2567 ( QUICK WIN ) ได้
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสรุปและนำเสนอผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติในการดำเนินการใช้จริง
6.2 ควรมีการพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพในอนาคต