Page 326 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 326

I 10


                        พัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต

                                   คลินิกรักษ์ไต ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่าน


                     นางขนิษฐา  ยศอาลัย, แพทย์หญิงวาลิกา รัตนจันทร์, นายแพทย์วัฒนชัย แจ่มจรัส, เภสัชกรจตุพร มหานิล,
                           คุณอรทัย ใจบุญ, คุณศุภาภรณ์ เชื้อสาร, คุณเจนจิรา เล็กเลิศศิริวงศ์ และ เภสัชกรอาภรณ์ พงษ์ขันธ์

                                                                                  โรงพยาบาลน่าน เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         จากการทบทวนบริการของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่าน พบว่าไม่มีรูปแบบบริการและ
                  ไม่มีแนวทางการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ชัดเจน ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4
                  ร่วมไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไต ไม่มีบริการให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ไม่มีการส่งเสริมให้ผู้ป่วย

                  สามารถดูแลจัดการตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การดูแลยังไม่ครอบคลุมสู่บ้านและชุมชน จำนวนผู้ป่วย
                  โรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน
                  ที่ส่งต่อพบอายุรแพทย์โรคไตมากขึ้น ผู้วิจัยซึ่งเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ได้เห็นความสำคัญและตระหนักถึง
                  ปัญหาดังกล่าวจึงสร้างและพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอความเสื่อมของไต

                  คลินิกรักษ์ไต ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่านขึ้น โดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย
                  มาเป็นกลไกในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพมาตรฐาน เกิดผลลัพธ์
                  ทางคลินิกที่ดีขึ้น ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น สามารถควบคุมโรค ลดภาระและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้

                  วัตถุประสงค์

                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 คลินิกรักษ์ไต ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง
                  โรงพยาบาลน่าน
                         2. เพื่อพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต คลินิกรักษ์ไต
                  ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่าน
                         3. เพื่อศึกษาผลของรูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต คลินิกรักษ์ไต

                  ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่าน

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาสถานการณ์ รูปแบบบริการ
                  และผลลัพธ์ของรูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ดำเนินการวิจัย
                  ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไต

                  เรื้อรังระยะที่ 3-4 ที่มารับบริการคลินิกรักษ์ไต จำนวน 40 ราย ซึ่งเป็นการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
                  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยใช้
                  ระบบการแพทย์ทางไกล คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2565

                  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการรักษาที่ได้จากเวชระเบียน
                  โปรแกรมสำเร็จรูปของโรงพยาบาลน่าน โดยใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย (Expanded
                  Chronic Care Model: ECCM) มาเป็นกรอบแนวคิด มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
                  1.ระยะเตรียมการวิจัย ศึกษาสถานการณ์การเจ็บป่วย/ ปัญหาสุขภาพของชุมชน วิเคราะห์ปัญหา ความพร้อม

                  และข้อจำกัดของศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง 2.ระยะดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน
   321   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331