Page 328 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 328
I 12
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น หลังใช้รูปแบบ
บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต สอดคล้องกับการศึกษาของอังสุมาลิน กรมทอง
และวิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ (2564) เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ศูนย์สุขภาพ
ชุมชนเมือง เทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ผลลัพธ์เชิงระบบ หน่วยงานมีระบบบริการที่สนับสนุนให้ผู้ป่วยจัดการ
พฤติกรรมตนเอง มีฐานข้อมูลเป็นปัจจุบัน มีแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายและวางแผนการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตลดลง
ร้อยละ 82.37 ค่าระดับน้ำตาลสะสมลดลงร้อยละ 60 ค่าอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต โดยใช้กรอบแนวคิด
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย ครอบครัว
และชุมชน รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยทุกภาคส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัว
มีความรู้ ทักษะในการจัดการพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น หน่วยงานมีระบบ
การดูแลผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ สามารถนำรูปแบบ
กิจกรรมไปปรับใช้กับบริบทพื้นที่ของตนเอง เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมในการดูแลผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรัง และศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณี
ภาพประกอบ