Page 327 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 327

I 11


                  การลงมือปฏิบัติการ การสังเกตผลการปฏิบัติ/ การประเมินผล และการสะท้อนกลับการปฏิบัติงาน 3.ระยะ

                  ประเมินผลการพัฒนา โดยการประเมินผลกระบวนการขั้นตอนการพัฒนา และประเมินผลการพัฒนา วิเคราะห์
                  ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และ
                  สถิติเชิงอนุมาน Parametric Statistics Paired Sample t-test และ Nonparametric Statistics Wilcoxon

                  Sign Rang test นำเสนอข้อมูลในรูปตาราง และการบรรยาย
                  ผลการศึกษา

                         1. ระยะเตรียมการวิจัย พบว่ามีแหล่งประโยชน์และทรัพยากรในชุมชนอย่างเพียงพอ ผู้นำชุมชน
                  และอสม. มีความต้องการแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรัง มีงบประมาณการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
                  เทศบาลเมืองน่าน หน่วยบริการ มีความพร้อมในการให้บริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

                         2. ระยะดำเนินการวิจัย ขั้นวางแผน คืนข้อมูลปัญหาสุขภาพชุมชน จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                  ระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน สร้างรูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอการเสื่อมของไต
                  จัดทำ Flow chart care process ตามต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นสังเกต
                  ผลการปฏิบัติ/ การประเมินผล จัดให้มีการแยกบริการเฉพาะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 สร้างความรอบรู้

                  ทางด้านสุขภาพ สร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เสริมสร้างพลังอำนาจและการจัดการ
                  ตนเอง ติดตามระหว่างนัดโดยใช้ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine/ Tele-nursing) ติดตามขาดนัด
                  และติดตามเยี่ยมบ้าน สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย ปฏิบัติตามข้อแนะนำเวชปฏิบัติ จัดระบบ
                  จัดเก็บข้อมูล บูรณาการร่วมกับโครงการที่มีอยู่ในชุมชน ได้แก่ โครงการลดเค็ม ลดโรค (โรคไต) โดยได้รับ

                  งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองน่าน ขั้นสะท้อนกลับการปฏิบัติงาน
                  ทบทวนรูปแบบบริการ ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบบริการเป็นวงรอบที่ 2
                         3. ระยะประเมินผลการวิจัย พบว่ากลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 55
                  อยู่ในช่วงอายุ 70-79 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 มีอายุเฉลี่ยที่ 70 ปี มี BMI อยู่ในช่วง 25.0 – 29.9

                  เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนระดับที่ 2 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.5 เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยมากที่สุด
                  คิดเป็นร้อยละ 55 มีระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานร่วมอยู่ในช่วง 6 ปี ขึ้นไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90
                  มีระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง > 10 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.10 มีพฤติกรรมสุขภาพ

                  ไม่ออกกำลังกายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.5 ไม่สูบบุหรี่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.5 เคยดื่มสุราแต่เลิกแล้วมากที่สุด
                  คิดเป็นร้อยละ 45 มีการใช้ยาได้ถูกต้องมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65 กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นโรคไตเรื้อรัง
                  ระยะ 3a มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45 หลังใช้รูปแบบบริการสามารถคงระยะเดิมที่ 3a มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.5
                  สามารถเปลี่ยนระยะของโรคดีขึ้นเป็นระยะ 2 คิดเป็นร้อยละ 7.5 จากระยะ 3b เป็นระยะที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 2.5
                  จากระยะที่ 4 เป็นระยะ 3b คิดเป็นร้อยละ 10

                         ผลการเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังใช้รูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4
                  เพื่อชะลอการเสื่อมของไต พบว่าหลังใช้รูปแบบบริการ ค่าอัตราการกรองของไต eGFR ค่าระดับความดันโลหิต
                  Systolic ค่าระดับไขมันในเลือด LDL-cholesterol และคะแนน CVD risk score ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง

                  สถิติที่ระดับ .05

                  อภิปรายผลการวิจัย
                         การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย ทำให้เกิดรูปแบบบริการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 เพื่อชะลอ
                  การเสื่อมของไต คลินิกรักษ์ไต ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลน่านขึ้น การดูแลต่อเนื่อง เชื่อมโยงถึงชุมชน
                  การติดตามโดยระบบการแพทย์ทางไกลช่วยลดระยะเวลาในการรอคอย ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมา รพ.

                  ของผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยพัฒนาศักยภาพของอสม.ด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้ป่วย/ครอบครัวและชุมชนมี
                  ความตระหนักในเรื่องการจัดการดูแลตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การปฏิบัติตามข้อแนะนำเวชปฏิบัติ
   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332