Page 331 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 331

I 15


                          การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

                                      เครือข่ายสุขภาพ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม


                                                                                             นางสุภาพร ทวยมาตร
                                                                โรงพยาบาลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         ในปัจจุบันโรคไตเรื่อรัง(Chronic Kidney Disease: CKD เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมทั้ง

                  ประเทศไทยสถานการณ์ของโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่สามารถชะลอไตเสื่อมได้จะมีการดำเนิน
                  ของโรคไปสู่โรคไตวานเรื้อรังระยะสุดท้าย (End -stage renal Disease) มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
                  เป็นอย่างมากโดยในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทั้งสิ้นมากกว่า 170,000 รายและมีจำนวน
                  ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ19,000-22,000ราย (ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563)

                  และข้อมูลจากระบบ คลังข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในปี 2565 พบว่า 1 ใน 25 ของผู้ป่วย
                  โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จากการ
                  วิเคราะห์ผลการดำเนินงานการให้บริการในคลินิกโรคไตโรงพยาบาลกุดรังปีงบประมาณ 2564-2566 พบว่า

                  ร้อยละของผู้ป่วย CKD ที่มีอัตราการลดลงของ eGFR<5 ml/min/1.73m2/yr ร้อยละ  67.30 ,56.02 , 47.83
                  มีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย service plan สาขาไต(เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 66) สำหรับ
                  ปัญหาและสาเหตุสำคัญ เกิดจาก 1) การตรวจ creatinine ซ้ำยังไม่ครอบคลุม 2) ผู้ป่วยโรคไตไม่ทราบระยะไต
                  ของตัวเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเป็นผู้สูงอายุ จากปัญหาดังกล่าว
                  จึงได้พัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เครือข่ายสุขภาพ อำเภอกุดรัง

                  จังหวัดมหาสารคาม

                  วัตถุประสงค์
                         1) พัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
                         2) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้

                  ตามเป้าหมาย service plan สาขาไต
                         3) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตและญาติพึงพอใจ

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) กลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มเป้าหมาย
                  ทีมสหวิชาชีพ อสม อสค ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 3 ระยะที่ 4

                  ที่รับบริการในคลินิกผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลกุดรังและได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องในชุมชน
                  ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 มีนาคม 2567 จำนวน 100 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แบบประเมิน
                  ความรู้การจัดการตนเองผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่  3 ระยะ4  2) แบบบันทึกติดตามระดับ

                  การทำงานของไต eGFR หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน 3) แบบบันทึกเนื้อหาสาระประเด็นคำถาม
                  การสนทนากลุ่ม 4) แบบประเมินความพึงพอใจ
                  ระยะดำเนินการวิจัย วงรอบที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ดังนี้ 1. วิเคราะห์สถานการณ์
                  การชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3 ระยะที่ 4 การควบคุมเบาหวาน การควบความดันโลหิต ในคลินิกโรคไม่ติดต่อ
                  เรื้อรัง โรงพยาบาลกุดรัง จังหวัดมหาสาคามและวางแผนปฏิบัติการ 2. ศึกษาบริบทการจัดการรายกรณี
   326   327   328   329   330   331   332   333   334   335   336