Page 330 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 330
I 14
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรม R version 4.3.1 (2023-06-16) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปใช้สถิติ
เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และหาความแตกต่างของค่าสัดส่วนระหว่างกลุ่มโดยใช้ Chi-square test
และ Fisher’s exact test ในการทดสอบ และใช้ Multiple logistic regression เพื่อหาอัตราส่วน (Odds ratio)
ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบำบัดทดแทนไตที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95
(95% Confidence interval)
ผลการศึกษา
จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตจำนวน 90 ราย ในช่วงปี 2564-2566 ก่อนและหลังการใช้
โปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม พบว่ามีการบำบัดทดแทนไต
โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าคิดเป็นร้อยละ 66.67 (30 ราย) และ 33.33 (22 ราย) โดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p= 0.0009) โดยปัจจัยที่ส่งผลคือรูปแบบของการล้างไตทางหน้าท้องซึ่งเปรียบเทียบกับ
กลุ่มฟอกเลือดพบว่ารูปแบบการล้างไตทางช่องท้องสามารถลดการบำบัดทดแทนไตโดยไม่วางแผนล่วงหน้าได้
0.33 เท่า (OR 0.33, 95% CI 0.10, 0.94; p = 0.046) และผู้ป่วยกลุ่มก่อนเริ่มใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษา
โดยใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม มีโอกาสการเกิดการบำบัดทดแทนไตที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
มากกว่ากลุ่มหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม 3.63 เท่า
(3.63, 95%CI 1.61, 8.48; p = 0.002) อย่างมีนัยสำคัญ
อภิปรายผลการวิจัย
การใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาโดยใช้รูปแบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน สามารถลด
การบำบัดทดแทนไตโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยของความสำเร็จ คือ
การที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงกระบวนการชะลอไตเสื่อมได้เร็วขึ้น รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ พยาบาลกับ
ผู้ป่วย มีความสำคัญในการให้คำแนะนำ รวมถึงการค้นหาความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งเป็นส่วนที่ยากจะเข้าถึง
การพบกันและพูดคุยจนสามารถเปิดใจและสลายกำแพง ทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจและความเชื่อเป็น
สิ่งที่จำเป็นในการวางแผนการบำบัดทดแทนไต
สรุปและข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษาดังกล่าวนำไปสู่การปรับกระบวนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยครบวงจรแบบไร้รอยต่อ
โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าถึงคลินิกชะลอไตเสื่อม การชะลอไตเสื่อม และการพัฒนาระบบเพื่อการเข้าถึงการบำบัด
ทดแทนไต ซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่กัน อย่างไรก็ตามกาวางแผนเชิงรุกเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม
ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด
ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตสุขภาพ และ
ระดับประเทศ ที่มีบริบทใกล้เคียงกับโรงพยาบาลพนัสนิคมได้