Page 372 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 372

K5


                  ปรับยาต่อไป 6) การติดตามผลระดับ HbA1C เดือนที่ 0, 3 และ 6 แจ้งผลและให้กำลังใจ ให้คำแนะนำเข้มข้น
                  ค้นหาบุคคลต้นแบบเพิ่ม และ 7) การประเมินผลและถอดบทเรียน
                         2. ผลลัพธ์การใช้รูปแบบฯ พบว่า ผลการดำเนินการ รุ่นที่1(กันยายน 2565-มีนาคม2566) ผู้ป่วย

                  เบาหวานทั้ง 4 5คน สามารถลดยาลงได้30คน(66.7%) หยุดยาได้15คน(33.3%) ผู้ป่วยมีความรอบรู้
                  ด้านสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือด น้ำหนัก และ
                  เส้นรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และ ผลการดำเนินการ รุ่นที่ 2
                  (พฤษภาคม 2565 -พฤศจิกายน 2566) ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 213 คน สามารถลดน้ำหนัก/รอบเอวได้ 200
                  คน (93.9%) ลดยาลงได้ 100คน(46.9%) หยุดยาได้111คน(52.1%) สำหรับคนไข้ที่มีโรคความดันสูงร่วมด้วย

                  จำนวน 119 คน สามารถลดยาได้ 40คน(36.4%) และหยุดยาได้ 28คน(23.5%) และนอกจากนี้นวัตกรรม
                  บริการนี้ยังสามารถสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในวงกว้างจนส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถ
                  ควบคุมระดับน้ำตาล HbA1c <7mg% ในปี 2565-2566 ได้ 44.5% และ 42.3% และสามารถประหยัด

                  ค่ายาประมาณ 184,000 บาท/ปี

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ทีมวิจัยสามารถพัฒนารูปแบบการรักษาผู้ป่วยเบาหวานให้หายได้ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทางออก
                  ในการแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานของอำเภอกระนวนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และควรมีการขยายผล
                  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากขึ้น ประเมินผล และถอดบทเรียนเพื่อขยายไปสู่ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดในอำเภอ

                  กระนวนและโรงพยาบาลอื่นๆต่อไป
   367   368   369   370   371   372   373   374   375   376   377