Page 374 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 374
K7
จะสามารถส่งผลให้ผู้ป่วย Stroke Fast Track ได้รับยา rt - PA ได้ทันภายในเวลา 60 นาที เพิ่มมากขึ้นหรือไม่
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในเครือข่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบประสานรับส่งต่อผู้ป่วย Stroke Fast Track ในเครือข่ายจังหวัด
หนองบัวลำภูโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาระบบประสานรับส่งต่อผู้ป่วย Stroke Fast Track ใน
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงและได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) ใน 60
นาที(Door to needle time)
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิง Intervention research รูปแบบ Historical controlled design ศึกษาผู้ป่วย
ที่ใช้ระบบบริการ ส่งต่อStroke Fast Track โรงพยาบาลในเครือข่าย แบ่งกลุ่มผู้ป่วย ที่ใช้ระบบการประสานส่ง
ต่อแบบเดิมและแบบใหม่ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 ถึง ปี 2566 กลุ่มเดิม ตุลาคม2564ถึงมีนาคม 2565 กลุ่ม
ใหม่เดือนเมษายน 2565 ถึงมีนาคม 2566 กลุ่มละ 34 ราย
ผลการศึกษา
1. เวลาตั้งแต่วินิจฉัยได้จนถึงล้อหมุน (Door to refer) กลุ่มที่ใช้ระบบการประสานส่งต่อที่พัฒนาขึ้น
ใหม่ใช้เวลาเร็วขึ้น 7.8 นาที โดยมีโอกาส 95% ที่จะเร็วขึ้นในช่วงเวลา 5.2-10.4 นาที โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P-value <0.001) โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยกวนอื่น และสามารถทำให้ เวลาตั้งแต่วินิจฉัยได้จนถึงล้อหมุน (Door
to refer) ภายใน 30 นาที ได้มากกว่าระบบการประสานส่งต่อแบบเดิมร้อยละ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย (P-value <0.001)
2. เวลาที่ได้เจาะเลือดจนได้ผลเลือด(Door to lab)ทั้งในโรงพยาบาลต้นทางและโรงพยาบาล
ปลายทางพบไม่มีความแตกต่างกันในทั้ง 2 กลุ่ม (P-value <0.148)
3. เวลาที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางสมองจนได้ผลอ่าน(Door to CT) กลุ่มที่ใช้ระบบ
การประสานส่งต่อที่พัฒนาขึ้นใหม่ใช้เวลาเร็วขึ้น 14.5 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001)
โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย และสามารถทำให้ เวลาที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทาง
สมองจนได้ผลอ่าน (Door to CT) ภายใน 25 นาที ได้มากกว่าระบบการประสานส่งต่อแบบเดิมร้อยละ 60
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย (P-value <0.001)
4. เวลาที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (Door to needle time) กลุ่มที่ใช้ระบบ
การประสานส่งต่อที่พัฒนาขึ้นใหม่ใช้เวลาเร็วขึ้น 13.6 นาที โดยมีโอกาส 95% ที่จะเร็วขึ้นในช่วงเวลา 7.4 - 19.9
นาที โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย และเวลาที่ผู้ป่วย
ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด(Door to needle time) ภายใน 60 นาที ได้มากกว่าระบบการประสาน
ส่งต่อแบบเดิมร้อยละ 30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีการควบคุมด้วยปัจจัยอื่นร่วมด้วย (P-value <0.001)
อภิปรายผล
การพัฒนาระบบการประสานรับส่งต่อผู้ป่วย Stroke Fast Track ในเครือข่ายจังหวัดหนองบัวลำภู
เป็นการบริการช่องทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จากการร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล เครือข่ายในชุมชน เจ้าหน้าที่สนับสนุนอื่น เอ็กชเรย์
เอ็กชเรย์คอมพิวเตอร์ การเงิน ตรวจสอบสิทธิ์ เปล คัดกรอง ทุกหน่วยงานเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทาง
เดียวกัน การประสานงานให้ชัดเจน ทุกกระบวนการต้องอาศัยความร่วมมือในการประเมิน วางแผน ดำเนินการ
การประสานงาน การติดตามกำกับงาน และการประเมินทางเลือกบริการที่สอดคล้องและตอบสนองต่อความ
6
ต้องการของผู้ใช้บริการโดยต้องมีการพัฒนาร่วมกันทั้งโรงพยาบาลแม่ข่ายและโรงพยาบาลลูกข่ายไปพร้อมกัน