Page 386 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 386

K19



                     ประสิทธิผลของการส่งเสริมการหายของแผลเบาหวานด้วยก๊อซขมิ้นชันในจังหวัดลพบุรี
                           Effectiveness of promoting the healing process of diabetic ulcers

                                        with curcumin gauzes in Lopburi Province


                                                                                            นายประมวล  สีบูลา
                                                             โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัว เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                     ประเภท ผลงานทางวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                          โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย (กระทรวงสาธารณสุข สำนัก

                  โรคไม่ติดต่อ, 2563) ใน พ.ศ.2563 จังหวัดลพบุรี มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานสูงถึง 146.9 ต่อแสนประชากร
                  (โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช งานเวชระเบียนและสถิติ, 2563) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                  ของหลอดเลือดและระบบประสาท ทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ง่ายและรักษาหายยาก จึงมักเรียกกันว่า “เท้า
                  เบาหวาน (Diabetic foot) ” ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของเท้าที่เกิดจากปลายประสาทเสื่อม หลอดเลือดส่วนปลาย
                  ตีบตันและติดเชื้อ ก่อให้เกิดบาดแผลและนำไปสู่การถูกตัดขา (World Health Organization, 2015)

                         การเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักเริ่มจากการเกิดแผลเรื้อรังที่เท้า ซึ่งบุคลากร
                  ทางการแพทย์ล้างแผลให้สะอาดและทำแผลแบบเปียกด้วยน้ำเกลือนอร์มัล 0.9% โดยทำแผลวันละครั้ง การ
                  รักษาด้วยวิธีดังกล่าวใช้เวลาในการรักษาแผลเฉลี่ย 450 วัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 40,455 บาทต่อคน (ภูดิศ สะวิคา

                  มิน, 2555) จากการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาแผลเรื้อรังและแผลเบาหวานที่เท้าพบว่า ในประเทศไทยมีการใช้
                  ขมิ้นชันนำมาทำเป็นก๊อซขมิ้นชันปิดแผลเรื้อรัง (กุญช์ภัช จันทรัตน์ และพวงทอง สมป่าสัก, 2561) ในประเทศ
                  อินเดียมีการนำขมิ้นชันมารักษาแผลเบาหวานทั้งในรูปผงขมิ้นชันโรยแผล (Rajinder & Verma, 2008) และ
                  การใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งนำมาแปะแผล (Acharya et al., 2020) ผลการศึกษาพบว่า ขมิ้นชันช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

                  ต้นทุนต่ำและวิธีการใช้ไม่ยุ่งยาก ประกอบกับในบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีการใช้
                  ขมิ้นชัน ไพล ใบพญามือเหล็กและพิมเสน มาทำแผลทั้งแผลสดและแผลเรื้อรัง ทำให้แผลหายเร็วและไม่ติดเชื้อ
                  (ชัยพร กลิ่นจันทร์, 2560) ผู้วิจัยจึงสนใจนำภูมิปัญญาของบ้านช่องน้ำไหลมาประยุกต์ใช้ในการทำแผล
                  เบาหวานโดยใช้เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma Longa Linn.) และพิมเสน ด้วยการพัฒนาเป็นก๊อซขมิ้นชันสำหรับทำ

                  แผล โดยศึกษาพบว่า เหง้าขมิ้นชันมีสารสำคัญ คือ เคอร์คิวมินซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Liang et al., 2009)
                  ฤทธิ์ต้านจุลชีพ (Mun et al., 2013) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Meng et al., 2013) การทำแผลด้วยก๊อซ
                  ขมิ้นชันจึงน่าจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและโอกาสติดเชื้อน้อยลง ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดอัตราการถูกตัดเท้า
                  ของผู้ป่วยเบาหวานลงได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                           1. เปรียบเทียบอัตราการหายของแผลหลังทำแผล 4 สัปดาห์ และระยะเวลาการหายของแผลในกลุ่ม
                  ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
                          2. เปรียบเทียบความรุนแรงของแผลในแต่ละสัปดาห์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
                          3. เปรียบเทียบร้อยละในการหดตัวของแผล การลดลงของแผลทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึกในแต่
                  ละสัปดาห์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
                          4. เปรียบเทียบต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดแผลต่อคนของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390   391