Page 387 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 387
K20
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ เป็นเพศหญิงร้อยละ 51.60 และเพศ
ชายร้อยละ 48.40 เท่ากัน มีอายุเฉลี่ย 56.23 ปี เท่ากัน (SD =7.34 และ 7.50 ตามลำดับ) เป็นโรคเบาหวาน
มาเฉลี่ย 12.48 ปี (SD=1.86) และ 12.10 ปี (SD =1.42) ตามลำดับ เคยถูกตัดขาหรือนิ้วเท้าร้อยละ 12.90
และ 9.70 ตามลำดับ ระยะเวลาที่เป็นแผล (นับจากวันที่เริ่มเป็นแผลถึงวันทำแผลในโครงการ) เฉลี่ย 13.90 วัน
(SD = 4.31) และ 13.35 วัน (SD =3.95) ตามลำดับ มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 21.84 กก./ตรม. (SD =2.08)
และ 22.22 กก./ตรม. (SD = 1.98) ตามลำดับ มีค่า FBS เฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลัง 117.38 มก/ดล. (SD
=11.08) และ 116.16 มก/ดล.(SD = 8.75) ตามลำดับ มีค่า HbA1c เฉลี่ย 7.26% (SD = 0.73) และ 7.19%
(SD = 0.74) ตามลำดับ
แผลที่เท้าของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่เป็นแผลระดับ 1 ร้อยละ 64.50 เป็นระดับ 2
ร้อยละ 35.50 เท่ากัน ขนาดของแผลที่เท้าในวันแรก กลุ่มทดลองมีความยาว ความกว้าง และความลึกของแผล
เฉลี่ย 3.70x 3.20 x 1.30 ซม.(SD = 2.03 และ 1.30, 0.35 ตามลำดับ) กลุ่มเปรียบเทียบมีความยาว ความ
กว้าง และความลึกของแผลเฉลี่ย 3.20x 2.93 x 1.15 ซม.(SD = 1.89, 1.39, และ 0.29 ตามลำดับ) และมี
พื้นที่หน้าตัดของแผลเฉลี่ย 9.60 ตารางเซนติเมตร (SD = 7.59) และ 8.30 ตารางเซนติเมตร(SD = 7.73)
ตามลำดับ ผลจากการทดสอบไคสแควร์และที พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีข้อมูลส่วนบุคคลไม่
แตกต่างกัน ณ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบอัตราการหายของแผลหลังทำแผล 4 สัปดาห์ และระยะเวลาในการหายของแผล
ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า หลังทำแผลด้วยก๊อซขมิ้นชัน 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองแผลหาย
ร้อยละ 29.03 (9 คน) ในขณะที่แผลของกลุ่มเปรียบเทียบทุกคนยังไม่หาย การทดสอบสัดส่วน พบว่า อัตรา
การหายของแผลของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3. ผลการเปรียบเทียบความรุนแรงของแผลในแต่ละสัปดาห์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ การ
ทดสอบทีและแมนวิทนีย์ยู พบว่า สัปดาห์แรกของการทำแผล กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของแผลมากกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สัปดาห์ที่ 2, 3 และ 4 ของการทำแผล กลุ่มทดลองมีความ
รุนแรงของแผลน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการเปรียบเทียบร้อยละในการหดตัวของแผล การลดลงของแผลทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้าน
ลึกในแต่ละสัปดาห์ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า กลุ่มทดลองมีร้อยละในการหดตัวของแผลเฉลี่ย
ต่อสัปดาห์ และในสัปดาห์ที่ 1- 4 มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีพื้นที่แผลลดลงเฉลี่ย 0.296 และ 0.046 ตารางเซนติเมตรต่อวัน ตามลำดับ