Page 388 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 388

K21



                  ตาราง 1  เปรียบเทียบร้อยละในการหดตัวของแผลในสัปดาห์ที่ 1-4 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
                  โดยใช้การทดสอบที (t) และการทดสอบแมนวิทนีย์ยู (Z) (n = 62)

                                                กลุ่มทดลอง       กลุ่มเปรียบเทียบ    t / Z       p
                             ระยะเวลา            (n = 31)           (n = 31)

                                               M        SD        M         SD
                         สัปดาห์ที่ 1         8.95     3.78      0.00      0.00     -7.23 Z    < .001
                         สัปดาห์ที่ 2        15.55    13.39      8.18      8.96     -5.06 Z    < .001
                         สัปดาห์ที่ 3        43.29    14.00      6.51      6.12     13.40 t    < .001

                         สัปดาห์ที่ 4        86.31    16.19      12.59     11.41    -6.81 Z    < .001
                         ค่า เฉลี่ยต่อสัปดาห์   38.52   8.72     6.82      5.89     16.77      < .001
                                                                                         t
                         การลดลงของแผลเบาหวานทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึกในแต่ละสัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการ
                  ลดลงของแผลด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึกเฉลี่ยต่อสัปดาห์ (ตาราง 2) และในสัปดาห์ที่ 1-4  มากกว่า

                  กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยกลุ่มทดลองมีขนาดแผลด้านกว้าง ด้านยาว และ
                  ด้านลึกลดลงเฉลี่ย 0.75, 0.435 และ 0.27 มิลลิเมตรต่อวัน ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบลดลงเฉลี่ย
                  0.102, 0.104 และ 0.117 มิลลิเมตรต่อวัน ตามลำดับ

                  ตาราง 2  เปรียบเทียบการลดลงของแผลด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึกเฉลี่ยต่อสัปดาห์ระหว่างกลุ่มทดลอง
                  และกลุ่มเปรียบเทียบโดยใช้สถิติการทดสอบที (t) และการทดสอบแมนวิทนีย์ยู (Z)  (n = 62)

                                         กลุ่มทดลอง (n = 31)  กลุ่มเปรียบเทียบ (n =31)
                       การลดลงของแผล                                                    t / Z       p
                                           M         SD           M           SD
                       ด้านกว้าง         0.535  0.129        0.072         0.025      19.55 t   < .001

                       ด้านยาว           0.307  0.085        0.073         0.037      - 4.725 Z   < .001
                       ด้านลึก           0.186  0.035        0.082         0.017      - 6.908 Z   < .001
                           5. ผลการเปรียบเทียบต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดแผลต่อคนของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ
                  พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดแผลต่อคนเฉลี่ย 861.94 และ

                  2,868.06 บาท ตามลำดับ โดยต้นทุนของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
                  ระดับ .001

                  อภิปรายผล
                            ผลการศึกษาพบว่า  การส่งเสริมการหายของแผลเบาหวานที่เท้าด้วยก๊อซขมิ้นชันมีผลต่ออัตรา
                  การหายของแผลหลังทำแผล 4 สัปดาห์ ระยะเวลาในการหายของแผล ความรุนแรงของแผล การหดตัวของ

                  แผล การลดลงของแผลด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก รวมทั้งต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผลต่อคน เป็นไป
                  ตามสมมติฐานการวิจัย เนื่องจากกลุ่มทดลองทำแผลด้วยก๊อซขมิ้นชันที่มีสารสำคัญคือเคอร์คิวมิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้าน
                  การอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีผลต่อความเร็วในการหายของแผล ความรุนแรง และการหดตัว

                  ของแผล (อภิรักษ์ ช่วงสุวนิช และพิตะวัน ราชตา, 2561)  ในระยะการอักเสบนั้น เคอร์คิวมินช่วยลดการ
                  อักเสบของแผลจากการช่วยยับยั้งการสร้างไซโตไคน์ ลดการสร้างไคเนส และเพิ่มองค์ประกอบของโปรตีน IκB-
                  α ส่งผลให้แผลมีการอักเสบลดลง (Mohanty et al., 2012) อีกทั้งเคอร์คิวมินยังช่วยเพิ่มระดับของไซโตไคน์ที่

                  ต้านการอักเสบได้แก่ IL-10 และ catalase (Kant et al., 2014) ด้วยการเร่งปฏิกิริยาของเอ็นไซม์ต้านอนุมูล
                  อิสระ superoxide dismutase และ glutathione peroxidase  ส่งผลให้มีการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ
   383   384   385   386   387   388   389   390   391   392   393