Page 389 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 389
K22
(Kant et al., 2014) ผลจึงอักเสบน้อยลง แผลของกลุ่มทดลองจึงมีความรุนแรงน้อยกว่าและหายเร็วกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบ ส่วนในระยะการเพิ่มเนื้อเยื่อ เคอร์คิวมินในขมิ้นชันช่วยทำให้มีการสร้าง การแบ่งตัว และการ
เคลื่อนย้ายของไฟโบรบลาสท์เข้ามาที่บริเวณแผลได้เร็วและมากกว่า จากนั้นไฟโบรบลาสท์จะเปลี่ยนเป็นไมโอ
ไฟโบรบลาสท์ (Mohanty et al., 2012) ไมโอไฟโบรบลาสท์เพิ่มการหดตัวของแผลโดยการกระตุ้น α-
smooth muscle actin ให้ออกฤทธิ์ในเนื้อเยื่อแกรนูเลชั่น (Desmouliere et al., 1993) ส่งผลให้แผลของ
กลุ่มทดลองมีร้อยละในการหดตัวของพื้นที่แผล การลดลงของด้านกว้าง ยาว และด้านลึกของแผลมากกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบ (Nguyen et al., 2013)
ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับ Rajinder และ Verma (2008) ที่ศึกษาผลของการรักษาแผลเบาหวาน
ด้วยผงขมิ้นชันในคลินิกผู้ป่วยนอกของรัฐเบงกอล อินเดีย และการศึกษาของอัคร์ญา สุนการา และคณะ
(Acharya et al., 2020) ที่ศึกษาการรักษาแผลเรื้อรังโดยใช้ขมิ้นชันผสมกับน้ำผึ้งในการทำแผล พบว่า การหด
ตัวของแผลในผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ขมิ้นชันและน้ำผึ้งเร็วกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ทำแผลด้วยน้ำเกลืออย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการที่ต้นทุนอุปกรณ์ที่ใช้ทำแผลต่อคนของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ
เนื่องจากแผลของกลุ่มทดลองหายเร็วกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มทดลองจึงใช้อุปกรณ์ในการทำแผลน้อยกว่า
ต้นทุนในการทำแผลต่อคนของกลุ่มเปรียบเทียบจึงสูงกว่ากลุ่มทดลองกว่า 3 เท่า ซึ่งยังไม่พบผลการศึกษาที่
สอดคล้องกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ควรนำก๊อซขมิ้นชันไปใช้ในการทำแผลของผู้ป่วยโรคเบาหวานในจังหวัดลพบุรี เพื่อให้แผลเบาหวาน
หายเร็วขึ้น
2. ควรศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริมการหายของแผลเรื้อรังด้วยก๊อซชมิ้นชันในผู้ป่วย
โรคอื่นที่มิใช่โรคเบาหวาน เช่น แผลกดทับจากการนอนนาน ๆ ของผู้ป่วยอัมพาต เป็นต้น