Page 49 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 49
A10
ผลการศึกษา
มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์จำนวน 55 ราย เพศชายร้อยละ 74.55 อายุเฉลี่ย 54.30 ปี พบโรคอ้วนระดับที่ 1
และ 2 ร้อยละ 45.45 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรร้อยละ 58.18 สิทธิการรักษาบัตรประกันสุขภาพ
ร้อยละ 80 มีโรคร่วมเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 45.45 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 41.82 ไขมันในเลือดสูง
ร้อยละ 36.36 โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 5.45 หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจสั่นพริ้ว ร้อยละ 21.82
เก๊าท์ร้อยละ 21.82 โรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 10.91 และโรคร่วมอื่นๆร้อยละ 4.55 เป็นโรคหัวใจ
ชนิด Ischemic cardiomyopathy ร้อยละ 21.82 โรคหัวใจชนิด Non-ischemic cardiomyopathy
ร้อยละ 78.18 การใช้ยาก่อนเข้าคลินิก ACEI/ARB ร้อยละ 81.82 ยา Beta blocker ร้อยละ 87.21 ยา MRA
ร้อยละ 34.55 และยา Furosemide ร้อยละ 81.82 หลังจากเข้าคลินิกทุกรายได้รับยา Beta blocker
ใช้ยา ACEI/ARB ร้อยละ 81.27 ยา MRA และยา Furosemide ร้อยละ 89.09 พบความแตกต่างของการได้รับ
ยา Beta blocker และยา MRA ก่อนเข้าคลินิกและหลังเข้าคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้รับการฉีดวัคซีน
ไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 96.36
ค่าความสามารถในการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย (Left Ventricular Ejection Fraction: LVEF)
ก่อนเข้าคลินิกมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.48 (SD=7.07) และหลังเข้าคลินิกมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.96 (SD=8.89)
มีค่ามากกว่าก่อนเข้าคลินิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 การทดสอบสมรรถภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ
ด้วยการเดิน 6 นาที (six-Minute Walk Test: 6-MWT) มีผู้ป่วยที่เดินได้มากกว่า 300 เมตร ก่อนเข้าคลินิก
และหลังเข้าคลินิก ร้อยละ 29.09 และ 85.45 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบค่าเฉลี่ย 6-MWT ก่อนเข้าคลินิก
คือ 272.91 (SD=72.03) เมตร หลังเข้าคลินิก คือ 357.41 (SD=72.01) เมตร โดยค่าเฉลี่ย 6-MWT หลังเข้า
คลินิกมีค่ามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 สมรรถภาพของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจำแนกตาม
(New York Heart Association Function Class: NYHA) ก่อนเข้าคลินิกอยู่ใน Functional Class II, III และ
IV ร้อยละ 36.67, 43.33 และ 20 ตามลำดับ และ NYHA ของผู้ป่วยหลังเข้าคลินิกอยู่ใน Functional Class I
และ II ร้อยละ 63.33 และ 36.67 พบว่า NYHA ของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.001 คะแนน
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมินนิโซต้า (Minnesota with heart failure questionnaire,
Thai version) ของผู้ป่วยก่อนเข้าคลินิกส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและระดับต่ำมาก ร้อยละ 69.09 และ 30.91
ตามลำดับ และหลังเข้าคลินิกอยู่ในระดับดีร้อยละ 1.82 ระดับปานกลางร้อยละ 81.82 และระดับต่ำร้อยละ 16.36
อภิปรายผล
จากการศึกษาพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตระยะยาวทั้งด้านร่างกาย
และจิตใจ ดังนั้นต้องมีการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง การทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษา
จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้การดูแลรักษา
ผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมาย การศึกษาครั้งนี้พบว่าการการดูแลอย่างบูรณาการระหว่างทีมสหวิชาชีพส่งผลให้
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวเป็นระยะเวลา 6 เดือน ค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่าง
ซ้ายเพิ่มขึ้น(P<0.001) การเดินทางราบทดสอบด้วย 6-MWT ได้ระยะทางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิก
P<0.001 โดยก่อนเข้าคลินิกเดินทางราบได้ระยะทางเฉลี่ย 272.91±72.03 หลังเข้าคลินิก 6 เดือนได้
357.41±72.01 โดยผู้ป่วยเดินทางราบได้มากว่า 300 เมตรเพิ่มขึ้นจากเดิมจากร้อยละ 29.09 เป็นร้อยละ
85.45 จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มี 6MWT น้อยกว่า 300 เมตรโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
สมรรถภาพของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกโดย NYHA functional Class ของผู้ป่วยดีขึ้นจากเดิม
ก่อนเข้าคลินิก ส่วนใหญ่จาก functional Class III และ IV เปลี่ยนเป็น functional Class I,II ทั้งหมด