Page 51 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 51

A12

                       การใช้หัวปั๊มเลือดเพื่อกรองสารน้ำและของเสียออกจากร่างกายผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

                                                  ระยะที่ 4-5 ขณะผ่าตัดหัวใจ


                                                                                       นางสาวกุสุมา เกตุสันเทียะ
                                                       โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                           ปัจจุบันมีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ไม่สามารถปัสสาวะขับของเสียออกเองได้ ที่จำเป็นต้อง
                  เข้ารับการผ่าตัดหัวใจ ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลานานและต้องได้รับยาและสารน้ำปริมาณมาก จึงอาจทำให้
                  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีน้ำและของเสียคั่งหลังผ่าตัด ส่งผลให้ผลเลือด ค่าไต รวมถึงอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติได้ จึงจำเป็นต้อง
                  มีการกรองสารน้ำและของเสียออกจากร่างกายผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด

                           จากการศึกษางานวิจัยต่างประเทศ พบว่าการใช้หัวปั๊มเลือดในการกรองสารน้ำและของเสียจะทำให้
                  สามารถกรองได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมที่ทำการกรองโดยไม่ใช้หัวปั๊มเลือด จึงได้มีการประยุกต์
                  นำอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีอยู่มาต่อเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้หัวปั๊มเลือดในการกรองได้

                  วัตถุประสงค์
                           เพื่อให้ผลเลือดหลังผ่าตัดของผู้ป่วยไม่แย่ลงกว่าก่อนผ่าตัด

                  วิธีการศึกษา
                           เครื่องหัวใจและปอดเทียมที่ใช้ในการผ่าตัดหัวใจในปัจจุบันมีหัวปั๊มเลือด ที่สามารถนำมาประยุกต์

                  ใช้ในการกรองสารน้ำและของเสียได้ โดยการใช้หัวปั๊มเลือดสำหรับให้สารละลายหยุดการเต้นของหัวใจ
                  มาใส่ข้อต่อเพิ่มบริเวณทางออกของหัวปั๊มเลือดเพื่อเชื่อมสายไปต่อกับ hemoconcentrator เพื่อกรองสารน้ำ
                  และเกลือแร่ต่าง ๆ ก่อนนำกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย ซึ่งการใช้หัวปั๊มเลือดจะทำให้สามารถควบคุมอัตราการกรอง
                  ให้อยู่ที่ 20-25 cc/kg/hr ได้ แล้วทำการเปรียบเทียบผลเลือดระหว่างก่อนและหลังผ่าตัด












                                                ภาพวงจรที่ใช้จริง                         ภาพวงจรจำลอง
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56