Page 50 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 50

A11


                           ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นคือการได้รับยาตามแนวทางการรักษาโรคหัวใจ

                  ล้มเหลวในปัจจุบัน มีการปรับขนาดยาเพื่อให้ได้ขนาดยาตามแนวทางการรักษา และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
                  ที่อาจเกิดขึ้นได้ การรักษาภายนอกคลินิกหัวใจล้มเหลวมักไม่มีการปรับขนาดยา ในการศึกษานี้การที่ผู้ป่วย
                  ได้รับยาบางชนิดตามแนวทางการรักษามาก่อนแล้ว เนื่องจากได้รับการตรวจรักษาโดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ
                  ก่อนคัดเลือกเข้ามาคลินิกหัวใจล้มเหลวแล้ว จึงต่างจากผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวทั่วไปที่มักจะยังไม่ได้รับยา
                  กลุ่มดังกล่าวมาก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะได้รับยามาแล้วผู้ป่วยก็ยังได้ประโยชน์จากการปรับขนาดยา สำหรับยา

                  ในกลุ่ม beta blocker และ MRA ที่มีการใช้ที่มากขึ้นอย่างชัดเจนในภายหลัง เนื่องจากยาในช่วงแรก
                  ของการรักษาผู้ป่วยมักจะยังมีภาวะน้ำเกิน การให้ยาในกลุ่มดังกล่าวมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตจึงต้องเริ่ม
                  ให้และค่อยๆ ปรับขนาดยาและต้องประเมินอาการของผู้ป่วยโดยใกล้ชิด

                           ข้อด้อยของการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าในทีมที่ให้การรักษายังขาดแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือ
                  นักกายภาพบำบัด ที่จะช่วยในการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับผู้ป่วย รวมทั้งนักโภชนาการที่จะให้
                  ความรู้เรื่องอาหารที่เหมาะสม

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                           เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลวโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ มีผลให้ความรุนแรงของ

                  โรคลดลง ค่าการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายเพิ่มขึ้น สมรรถภาพของผู้ป่วยดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
                  ดังนั้นคลินิกหัวใจล้มเหลวโดยมีทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ได้มาตรฐานและได้รับความรู้ในการ
                  ดูแลตนเอง ตระหนักถึงความสำคัญในการรับประทานยา จนทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในตัวโรคและปฏิบัติตัว
                  ตามแนวทางในการรักษาจึงทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55