Page 53 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 53

A14


                                                       STEMI@Home

                           (พัฒนาระบบผู้ป่วยหัวใจ STEMI ในเครือข่ายได้รับการเริ่มดูแลตั้งแต่ที่บ้าน)


                                                          นายแพทย์ณัฐพงศ์ กาญจนะโกมล และนางสาวอุบล  บุญยงค์
                                                                โรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                           โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นต้นของคนไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
                  สถานการณ์กลุ่มภาวะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน acute coronary syndrome (ACS) เกิดจากการตีบหรือ
                  อุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงหัวใจ มีการจำแนกเป็นสองชนิด โดยดูจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
                  แบบ ST Elevate MI (STEMI) ซึ่งหลอดเลือดมีการอุดตัน 100% และแบบ Non ST Elevate MI (NSTEMI)/

                  และ Non ST Elevate ACS (NSTE-ACS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาเฉียบพลันชนิด
                  ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ
                  และของโลกนั้น มีความจำเป็น ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล

                  ตามมาตรฐาน ปัจจุบัน ประเทศไทย มีการใช้แนวเวชปฏิบัติภาวะโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันปี พ.ศ 2563
                           กระทรวงสาธารณสุข ไต้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
                  โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน คือ ลดอัตราตาย ลดอัตราป่วย ลดระยะเวลารอคอย ด้วยมาตรฐานการบริการ
                  โรคหัวใจในเขตสุขภาพที่ ๕ ยังคงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการตาย
                  กับประชาชนในเขตสุขภาพนี้ ในการพัฒนารูปแบบ และระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

                  เฉียบพลันชนิด STEMI ในแต่ละจังหวัดที่มีความแตกต่างกันทั้งในลักษณะภูมิประเทศ ผู้ป่วยกลุ่ม STEMI
                  ในเขตสุขภาพที่ 5 ปีงบประมาณ 2566 พบมีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 11.41 ยังพบว่าสูงกว่า
                  เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 9, ร้อยละได้รับยาละลายลิ่มเลือดภายในเวลาที่กำหนด (มากกว่าร้อยละ 60) ได้ร้อยละ

                  51.70 ยังได้น้อยกว่าเกณฑ์, ร้อยละได้รับการทำ PPC ภายในเวลาที่กำหนด (มากกว่าร้อยลt 60) ได้ร้อยละ
                  54.67  ยังต่ำกว่าเกณฑ์
                           จังหวัดนครปฐม มีโรงพยาบาลศูนย์นครปฐม ที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด
                  เลือดเฉียบพลันชนิด STEMI  โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดและการใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจชนิดพิเศษดูดเอา

                  ลิ่มเลือดออกพร้อมกับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวดค้ำยัน (Primary
                  percutaneous coronary intervention หรือ PPCI) ทั้งในจังหวัดนครปฐมและเป็นแม่ข่ายในเขตสุขภาพที่ 5
                  ปัจจุบันมีหน่วยปฏิบัติการสวนหัวใจ เปิดให้บริการทั้งในเวลาราชการ 2 ห้องและนอกเวลาราชการ 1 ห้อง
                  24 ชั่วโมง ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และรับการส่งต่อหัวใจจากโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 5 วันจันทร์และวันพุธ

                  มีการปรึกษาและร่วมวางแผนการรักษาผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่น LINE โดย อายุรแพทย์โรคหัวใจ
                  ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันทำการ

                           ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI  ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครปฐม
                  ทั้งในจังหวัดและในเขตสุขภาพที่ 5 ในปีงบประมาณ 2563, ปี 2564, ปี 2565, 2566 และปี 2567

                  (เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566) มีอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 8.3, 11.61, 10.1, 9.25 และ 13 ตามลำดับ
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58