Page 54 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 54

A15

                  ยังสูงกว่าเกณฑ์ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเปิดหลอดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด(PPCI)
                  ในปีงบประมาณ 2563, 2564, ปี 2565, ปี 2456 และปี 2567(เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566)  PPCI
                  ภายใน 120 นาที  คือร้อยละ 81.58, 77.78, 89.34 และ 76 ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์, ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา
                  โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic drug) ภายใน 30 นาที ในปีงบประมาณ 2563, 2564, ปี 2565,
                  ปี 2566, ปี 2567 (เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566) ทำได้ร้อยละ 82, 59, 64, 84.31 และ 66.67

                  ตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์
                           จากการทบทวนการดูแล ส่งต่อ ผู้ป่วยและเคสผู้ป่วยที่เสียชีวิต พบว่ามีผู้ป่วยบางรายสามารถเข้าถึง
                  บริการและลดระยะเวลาระหว่างการส่งต่อและการรับเข้าห้องสวนหัวใจได้ไวขึ้นได้ ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการ
                  โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และได้ใช้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่าน 1669 ซึ่งมีความพร้อมในการตรวจรักษา
                  และการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) เบื้องต้นทันที่ไปถึงผู้ป่วยได้และมีระบบ Telemedicine ทำให้สามารถให้การ

                  ดูแลประเมิน ดูแลรักษา และลดระยะเวลาระหว่างการส่งต่อและการรับเข้าห้องสวนหัวใจได้ไวขึ้น
                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                           1. ผู้ป่วยที่สงสงสัยภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation Myocardial
                  Infarction (STEMI)  ที่ใช้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่าน 1669 สามารถได้รับการรักษาโดยการรักษา
                  เปิดหลอดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด(PPCI) ได้รวดเร็วขึ้น
                           2. ลดขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยทำให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการสวนหัวใจเพื่อทำ Primary PCI
                  ได้รวดเร็วขึ้น

                  วิธีการศึกษา
                           ผู้ป่วยโรคหัวใจสงสัยภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation
                  Myocardial Infarction (STEMI) และใช้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่าน 1669 สามารถปรึกษาเข้าระบบ

                  บริการผู้ป่วยการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยการการรักษาเปิดหลอดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด
                  (PPCI) (STEMI 5G Fast tract) ตั้งแต่ผู้ป่วยอยู่ในรถ EMS โดยแพทย์โรคหัวใจเพื่อตัดสินใจให้การรักษาได้ทันที
                  ไม่ต้องรอจนกว่าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล

                  ผลการศึกษา
                           1. การลดขั้นตอนการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคหัวใตรวดเร็วและปลอดภัย
                           2. การปรับระบบขั้นตอนการส่งต่อและการบันทึกข้อมูล จากปกติ(ของเดิม) จะมีขั้นตอนการส่งต่อ
                  จะต้องมีการใช้เวลาในการส่งต่อจะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉิน และประสานข้อมูลโดยการโทรศัพท์

                  มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ได้แก่ห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน, ห้องส่วนหัวใจ, หอพัก CCU และแพทย์วรห้องสวนหัวใจ
                  มีการปรับลดเหลือ 2 ขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยใช้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินและสงสัยภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
                  ตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) สามารถปรึกษาและสามารถ
                  ได้รับการส่งต่อด้วยวิธีการรักษาเปิดหลอดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด(PPCI) ตั้งแต่ที่ไปรับผู้ป่วย
                  และห้องสวนหัวใจ เท่านั้นทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงและได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้น

                  อภิปรายผล
                           ผลการศึกษาพบว่าเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 มีผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

                  ขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครปฐมจำนวน 67 ราย ได้รับการรักษา
                  เปิดหลอดเลือดโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด(PPCI) 46 ราย มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้าโครงการ
                  STEMI @ Home (ผู้ป่วยหัวใจ STEMI ได้รับการเริ่มดูแลตั้งแต่ที่บ้าน 2 ราย สามารถ ได้รับการรักษาเปิดหลอด
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59