Page 56 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 56

A17

                           การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)

                                                เขตสุขภาพที่ 7 แบบบูรณาการ


                                             นายแพทย์สุทธิเทพ  ดวงศร  นายแพทย์อำพน พรงาม  นางจิราพร  น้อมกุศล
                                                             นางสาวรัชดาภรณ์ กาญจนเสถียร  และนางปนิตา มีระเกตุ
                                                                โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา
                           ภาวะหัวใจล้มเหลว  เป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโรคหัวใจ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยต้องเข้ารับการ

                  รักษาตัวในโรคพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยภาวะ
                  ดังกล่าวเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวยังต้องการการพัฒนา โดยเฉพาะ
                  ในส่วนของการใช้ยาได้ตามมาตรฐานการรักษาที่เหมาะสม  เนื่องจากผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
                  เป็นโรคที่ซับซ้อน การดูแลตัวเองที่ดีของผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดการกำเริบของอาการ
                  และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทีมบุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการร่วมดูแลผู้ที่มีภาวะ

                  หัวใจวาย ทั้งในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการรักษาในระยะยาว ในประเด็นที่ สำคัญได้แก่
                  การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย ผ่านการให้ความรู้ การให้คำแนะนำ
                  เกี่ยวกับการดูแลตนเองทั่วไปและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม การรับรู้และการจัดการอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
                  การรับประทานยาตามแผนการรักษาและการติดตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหาร

                  และน้ำที่เหมาะสม การรักษาสมดุลของการทำกิจกรรมและการพักผ่อน การดูแลตนเองด้านจิตสังคม
                  และรวมถึงการเป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพกับผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย เพื่อให้บรรลุ
                  เป้าหมายในการลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นศูนย์
                  หัวใจ เขตสุขภาพที่7 เห็นความสำคัญเพื่อให้เกิดการขยายการบริการคลินิกหัวใจล้มเหลวให้ครอบคลุม
                  โรงพยาบาลระดับ S-M2 ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  2560     – ของกระทรวงสาธารณสุข จึงมี   2565

                  ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว โดยมี
                  การพัฒนาทีม จัดอบรมบุคลากรทีมสุขภาพเพื่อเสริมความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อให้สามารถ
                  ดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ความปลอดภัยของผู้ป่วย
                  และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อพัฒนาบุคลากรทีมสหวิชาชีพเครือข่ายคลินิกโรคภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure Clinic)

                  ในเขตสุขภาพที่  7
                         2. เพื่อให้บุคลากรทีมมีความมั่นใจในการดำเนินงานจัดตั้งคลินิกโรคภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure
                  Clinic) ในเขตสุขภาพที่  7
                         3. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ / ความรู้ /การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะ

                  หัวใจล้มเหลว (Heart Failure Clinic  (
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61