Page 529 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 529
O4
อภิปรายผล : จากข้อมูลตัวชี้วัดปี 2565 และ 2566 พบว่า ร้อยละผู้ป่วยที่บรรลุเป้าหมายของการฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
และร้อยละผู้ป่วยที่มีค่าคะแนน Barthel index เพิ่มขึ้น 2 คะแนนเมื่อจ าหน่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน เมื่อมาวิเคราะห์
รูปแบบการให้บริการ พบว่า การฟื้นฟูสภาพแบบ IMC ward (intensive rehab IPD program) โดยทีมสหวิชาชีพ
มีประสิทธิภาพมากกว่าการฟื้นฟูสภาพแบบ IMC bed (less-Intensive IPD rehab program) ซึ่งรูปแบบ
การฟื้นฟูดังกล่าวเป็นส่วนส าคัญที่ส่งผลถึงผลลัพธ์ด้านระดับความสามารถของผู้ป่วย ดังนั้น สรุปได้ว่า
การได้รับบริการแบบ IMC ward สามารถเพิ่มระดับความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยได้มากกว่า
รูปแบบ IMC bed
สรุปและข้อเสนอแนะ : รูปแบบการจัดบริการด้านการฟื้นฟูสภาพเป็นปัจจัยส าคัญที่ช่วยเพิ่มระดับ
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้สูงสุดตามศักยภาพของผู้ป่วย จะเห็นได้ว่า รูปแบบการจัดบริการฟื้นฟู
สภาพในผู้ป่วย IMC มีความส าคัญในการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจน าไปสู่ความพิการและพัฒนา
ความสามารถในการท ากิจวัตรประจ าวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้นจนสามารถช่วยเหลือตนเอง กลับมาท างาน และใช้
ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ดังนั้นควรขยายผลให้เกิดการดูแลต่อเนื่อง ได้รับการฟื้นฟูสภาพในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ เช่น
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นต้น