Page 533 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 533
O8
การศึกษาความสัมพันธ์ Nutrition Alert Form (NAF) และ Mini Nutritional Assessment
Short-Form (MNA-SF) เพื่อประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหัก
แพทย์หญิงชณิตา อุณหพิพัฒพงศ์ นายแพทย์เทพพิทักษ์ พันสีหะ และนายแพทย์กิตติพงษ์ เศรษฐ์สัมพันธ์
โรงพยาบาลขอนแก่น
เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความส าคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักถือเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (intermediate care: IMC)
ที่ควรให้บริการรักษา เนื่องจากผู้ป่วยมีข้อจ ากัดในการใช้ชีวิตประจ าวัน จ าเป็นต้องได้รับการดูแลฟื้นฟู
สมรรถภาพร่างกายโดยสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ภาวะทุพโภชนาการเป็นอาการร่วมที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย
กระดูกสะโพกหัก ซึ่งน าไปสู่ทุพพลภาพ ภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต เครื่องมือคัดกรองที่ได้รับ
การตรวจสอบแล้วมีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการแยกความเสี่ยงในภาวะทุพโภชนาการ การประเมินตั้งแต่เนิ่นๆ
ช่วยให้สามารถแก้ไขภาวะโภชนาการได้ทันท่วงที สมาคมโภชนาการทางหลอดเลือดและทางเดินอาหารแห่ง
ประเทศไทย แนะน าให้ใช้แบบฟอร์มการแจ้งเตือนโภชนาการ (Nutrition Alert Form: NAF) เพื่อจัดล าดับ
ความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยที่ได้รับการนอนโรงพยาบาล แต่ยังไม่มีการศึกษา NAF ในกลุ่ม
ผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหัก และการศึกษาโดยใช้แบบประเมิน Mini Nutritional Assessment Short-Form
(MNA-SF) ยังมีการศึกษาส่วนมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่การศึกษาในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีกระดูกข้อสะโพกหักยังมีน้อย
อีกทั้งการประเมินน้ าหนัก และดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ที่ใช้ในการประเมินภาวะทุพ
โภชนาการอาจท าได้ยากในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก
วัตถุประสงค์การศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ NAF ทั้งสองชนิด NAF-BMI และ NAF-TLC
จากการวัดจ านวนลิมโฟไซต์ทั้งหมด (Total lymphocyte count: TLC) เทียบกับ MNA-SF ทั้งสองชนิด
MNA-SF (CC) จากการวัดรอบหน่อง และ MNA-SF (BMI) ซึ่งเป็นเครื่องมือคัดกรองภาวะโภชนาการมาตรฐาน
ที่มีใช้ทั่วโลก รวมถึงเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของ NAF และ ดัชนีมวลกาย (BMI) เส้นรอบแขน และเส้นรอ
บวงน่องในผู้ป่วยในที่มีกระดูกหักบริเวณสะโพก นอกจากนี้การศึกษายังมีวัตถุประสงค์รองเพื่อส ารวจ
ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน NAF กับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงค่าไตครีเอตินีน ระดับอัลบูมิน
และ TLC และศึกษาระดับความเสี่ยงของภาวะทุพโภชนาการและความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคร่วมโดย
ใช้ Charlson Comorbidity Index (CCI )
วิธีการศึกษา
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยในมนุษย์ของสถาบัน
โรงพยาบาลขอนแก่น ประเทศไทย (รหัสอนุมัติ KEXP65033) ผู้เข้าร่วม คือผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลที่มีกระดูก
สะโพกหักทั้งหมดถูกคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างที่แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่เดือน
สิงหาคม 2565 ถึงธันวาคม 2566 จากการศึกษาก่อนหน้าความชุกของภาวะทุพโภชนาการที่มีความเสี่ยงตาม