Page 59 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 59
A20
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI)
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
นางอรุณลักษณ์ นาทองบ่อ และ Cardiovascular care team
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิด ST-segment elevation
เป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินจากการอุดดันของหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
รวดเร็วเพื่อลดอัตราตายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จากข้อมูล WHO พ.ศ. 2566 ระบุว่า โรคหลอด
เลือดหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับที่ 1 ของคนทั่วโลก และในเอเชียมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด ประเทศ
ไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉลี่ยชั่วโมงละ 7 คน หรือ 58,681 คน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย เริ่มพัฒนาระบบการดูผู้ป่วย STEMI มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2553 เป็นโรงพยาบาล
ชุมชนแห่งแรก ในจังหวัดมหาสารคาม ที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด ได้ และให้การดูแลผู้ป่วยตาม
แนวทางการปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เขตสุขภาพที่ 7 จากข้อมูล
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกันยายน 2566 สถิติผู้ป่วย STEMI ทั้งหมด 74 คน มีกระบวนการ PAOR
มาปรับปรุงพัฒนาระบบการดำเนินการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จากการทบทวน
สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้แผนภูมิก้างปลา Fish Bone Diagram พบว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการ
ดังนี้ 1). ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลล่าช้า ตั้งแต่มีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลนานเกินกว่า 12 ชั่วโมง 2) พยาบาล
ขาดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ขาดความมั่นใจในการประเมิน คัดกรองผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการ
วินิจฉัยและรับยาละลายลิ่มเลือดล่าช้า ทำให้การดำเนินของโรคมีความรุนแรง และอัตราตายเพิ่มขึ้น ผู้วิจัย
ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด
เลือดเฉียบพลัน (STEMI) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว วินิจฉัยได้ทันเวลา และได้รับยาทันเวลา
และสอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) ของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย
2. เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย
3. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วย STEMI โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของ Kemmis,S.,& McTaggart
เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) โรงพยาบาล
โกสุมพิสัย ระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567 ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่าง
ผู้วิจัยกับทีมผู้ดูแลผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับยาละลาย
ลิ่มเลือดทุกราย โดยใช้กระบวนการ PAOR โดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
1. ระยะวิเคราะห์สถานการณ์
2. ระยะสร้างแนวทางการปฏิบัติ และ
3. ระยะประเมินผล เครื่องมือที่ใช้คือ CPG STEMI, แบบประเมิน MI record, เวชระเบียนผู้ป่วย
และแบบประเมินความพึงพอใจและใช้แนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ