Page 60 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 60

A21



                  ผลการศึกษา

                         วงรอบที่ 1 (ปี พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565)
                         1.  Planning ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยSTEMI รพ.โกสุมพิสัย ในปี 2564 โดยใช้แบบบันทึก
                  เวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติ พบว่ามีผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโกสุมพิสัยทั้งหมด
                  29 ราย ได้รับยา Streptokinase 14 ราย Door to EKG 28.29 นาที อัตราการตายคิดเป็น 3.44% เจ้าหน้าที่
                  ใหม่ยังไม่ทราบแนวทางปฏิบัติไม่มีความมั่นใจในการประเมินคัดกรองผู้ป่วย
                         2.  Action พัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วย STEMI โดยนำประเด็นปัญหาจากการวิเคราะห์
                  สถานการณ์มาปฏิบัติโดย มีการจัดทำ BOX SET คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไว้ทุก
                  หน่วยงาน จัดทำป้าย early warning sign จัดอบรมทบทวน CPG การประเมินคัดรองผู้ป่วย พัฒนาศักยภาพ
                  แพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ ในการอบรมฟื้นฟู CPR Advance การอ่าน EKG เบื้องต้น พบการนำแนวทาง
                  ปฏิบัติมาใช้ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะ chest pain chart checklist ยังพบผู้ป่วย miss/delayed diagnosis
                         3.  Observing มีการนิเทศกำกับติดตามปัญหาอุปสรรคของแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยSTEMI
                  และประเมินความรู้หลังการใช้แนวทางของพยาบาลผู้ดูแลโดยมี NCM และ Cardiovascular care team

                  ที่สะท้อนปัญหา สรุปผลการใช้แนวทาง พบว่าการขาดการติดตามและกระตุ้นต่อเนื่องก็จะทำให้บุคลากร
                  ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติ แต่จะใช้ความเคยชินปฏิบัติทำให้เกิดการประเมินผู้ป่วยได้ล่าช้า
                         4.  Reflecting ผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยSTEMI พบว่าเป็นไปตามเป้าหมาย
                  ที่ตั้งไว้ ในปี 2565 มีผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโกสุมพิสัยทั้งหมด 25 ราย  ได้รับยา
                  Streptokinase 6 ราย  Door to EKG 12.8 นาที  อัตราการตายคิดเป็น 4% เจ้าหน้าที่รับทราบแนวทาง
                  ปฏิบัติมีความมั่นใจในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
                         วงรอบที่ 2 (ต.ค. 66 – ก.พ. 67)
                          1.  Re – Planning  ศึกษาสถานการณ์ทบทวนผลดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

                  ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัยในปี 2566  พบว่ามีผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโกสุมพิสัยทั้งหมด
                  14 ราย ได้รับยา Streptokinase  3 ราย , Door to EKG 8.6 นาที , Door to Diagnosis 94.75 นาที
                  อัตราการตายคิดเป็น 7.19 %
                         2.  Re - Action  ปรับปรุงแนวทางการประเมินอาการเจ็บแน่นหน้าอกให้มีช่องการลงเวลาที่ชัดเจน
                  ใช้คำถามที่สั้นเข้าใจง่ายแยกอาการที่เป็น Typical chest pain และ Atypical chest pain มีการพยาบาล
                  เบื้องต้นที่ผู้ป่วยต้องได้รับอย่างชัดเจน มีการจัดทำ Time line case แบบก้างปลา (Fish Bone Diagram)
                  ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้นในทุกขั้นตอน ร่วมกับการทำ Morning Brief ทุกเช้าของ NCM ทุกหน่วยงาน
                  ร่วมกับหัวหน้างาน เพื่อเสริมแรงในการทำงานทุกวัน มีการจัด Tracing AMI และจัดทำ early warning sign
                  ให้ทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล
                         3.  Re - Observing  มีการนิเทศกำกับติดตามปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการ
                  ประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันทุกเดือน และมีการสรุปปัญหา หรือข้อดีของการพัฒนา
                  ประเมินผลให้ทราบทุก 3 เดือนโดย Nurse case management(NCM) ร่วมกับหัวหน้าหน่วยงาน อายุรแพทย์

                  และทีมบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล รายงานผลต่อผู้บริหารโรงพยาบาลทุกเดือน
                         4.  Re - Reflecting ผลการดำเนินงานพบว่าในปี 2567 พบว่ามีผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษา
                  ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัยทั้งหมด 6 ราย ได้รับยา Streptokinase 3 ราย ,Door to EKG 3.3 นาที ,Door to
                  Diagnosis 50 min อัตราการตายคิดเป็น 33.33% เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจและใช้แนวทางปฏิบัติการ
                  ประเมินผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 100%
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65