Page 61 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 61

A22





                             ผลลัพธ์การดำเนินงาน
                                                                                   ปีงบประมาณ
                                        ตัวชี้วัด
                                                                      2564      2565       2566      2567
                   Door to EKG ≤ 10 min (min)                         28.29      12.8       8.6       3.3
                   Door to Diagnosis ≤ 30 min (min)                     -         -        94.75       50
                   อัตราตายในผู้ป่วย STEMI ≤ 9%                       3.44%      4%       7.19%     33.33%
                   พยาบาลมีความพึงพอใจและใช้แนวทางปฏิบัติการ          80%       90%       100%       100%
                   ประเมินผู้ป่วยSTEMI

                  อภิปรายผล

                         การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยSTEMIโรงพยาบาลโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม พบว่าในปี
                  2566 – 2567 (ต.ค. 66 – ก.พ. 67) อัตราผู้ป่วย STEMI ที่ Door to EKG time < 10 min ได้ 100%
                  เวลาเฉลี่ย คือ 8.6 นาที และ 3.3 นาทีตามลำดับ และ Door to Diagnosis ระยะเวลาลดลงจาก 94.75 min
                  เป็น 50 min เนื่องจากมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีแบบประเมินอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เข้าใจง่ายขึ้น
                  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น พยาบาลน้องใหม่มีความมั่นใจสามารถประเมินคัดกรองคนไข้
                  ได้อย่างรวดเร็ว การจัดทำ Time line case แบบFish Bone Diagram ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
                  ร่วมกับการทำ Morning Brief ทุกเช้าของ Nurse case management การจัด Tracing MI และจัดทำป้าย
                  early warning sign ร่วมกับมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ แต่ยังพบอัตรา
                  ตายในผู้ป่วย STEMI คิดเป็น 33.33% จาการทบทวนพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุ ที่มีภาวะ Cardiac
                  arrest มาจากบ้านแล้ว และปฏิเสธการส่งต่อ พยาบาลมีความพึงพอใจและใช้แนวทางปฏิบัติการประเมินผู้ป่วย
                  โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 100% ในปี 2567 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของมรรยาท ขาวโต

                  และคณะ ได้พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น
                  ในระยะวิกฤติงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ผลพบว่าจำนวนผู้ป่วย Door to needle time ภายใน 30 นาที
                  ทันเวลามากขึ้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value <.05) ความรู้ของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาด
                  เลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 100

                  ข้อเสนอแนะ
                             จากปัญหาในการดำเนินการวิจัยพบประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ผู้รับบริการยังเข้าถึงบริการที่ล่าช้า
                  เนื่องจากยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรค อาการที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล อัตราตายสูงพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิต
                  เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวร่วมกับการสูบบุหรี่ จึงมีข้อเสนอแนะการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
                         1. มีกระบวนการ Health promotion เน้นการประชาสัมพันธ์การเข้าถึงช่องทาง Fast track
                         2. การประเมิน CVD - Risk ให้ครอบคลุมในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
                         3. ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ควรมีการติดตามเพื่อส่งเข้าคลินิกเลิกบุหรี่และจัดกิจกรรมรณรงค์พิษบุหรี่ในพื้นที่
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66