Page 579 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 579
P10
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ที่มีขั้นตอนการวิจัยทั้งหมด
4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การประชุมกลุ่ม Focus group ศึกษาสถานการณ์ ระยะที่ 2 การออกแบบ
และพัฒนารูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อ ภายใต้กรอบแนวคิดรูปแบบบริการไร้รอยต่อที่ประกอบด้วย
4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ระบบบริการแบบไร้รอยต่อที่มีการทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) ระบบการส่งต่อ
ข้อมูลและให้คำปรึกษา 3) ระบบการวางแผนจำหน่ายผ่านช่องทาง Tele - nursing ที่ใช้งานร่วมกันระหว่าง
พยาบาลผู้จัดการรายกรณีกับบุคลากรในโรงพยาบาลประจำอำเภอ สถานีอนามัยและผู้ดูแล 4) ระบบสนับสนุน
อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยมีผู้จัดการรายกรณีและทีมให้การดูแล ระยะที่ 3
ปรับปรุงและทดลองใช้ และระยะที่ 4 การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีดังนี้ ระยะการทำ Focus group ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อน
ขาหนีบแบบวันเดียวกลับ ระยะทดสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อ พยาบาลจำนวน
10 คน และระยะทดสอบประสิทธิผล ผู้ป่วยจำนวน 124 คน ดำเนินการสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
กลุ่มละ 62 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างจำเพาะเจาะจง ตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึง เมษายน
พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ
หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลคะแนนความวิตกกังวล คะแนนความรู้และการปฏิบัติตัว
ใช้การวิเคราะห์สถิติ Paired t-test และคะแนนความพึงพอใจ การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การกลับมา
รักษาตัวซ้ำ ภายใน 24 ชั่วโมง ของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ใช้การวิเคราะห์สถิติ Independent t-test
ผลการศึกษา
ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่า ปัญหาของผู้ป่วย ได้แก่ การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ติดตามอาการ
หลังผ่าตัดที่ไม่ครอบคลุม เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและขาดการวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย ระยะที่ 2
พบว่า รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ
CVI = 0.89 ระยะที่ 3 ปรับปรุงและทดลอง ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ พบว่า
ผู้ป่วยความวิตกกังวลลดลง เพิ่มระดับความรู้การปฏิบัติตัว และระยะที่ 4 จาการนำรูปแบบการพยาบาล
ที่พัฒนาขึ้นทดสอบประสิทธิผล ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีโรคประจำตัว
ผ่าตัดขาหนีบข้างซ้ายและมีผู้ดูแลทุกราย ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การปฏิบัติตัวของกลุ่มที่ได้รับ รูปแบบ
การพยาบาลแบบไร้รอยต่อ 29.00 (±0.92) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบเดิม 23.09 (±5.01) และ
ค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อ 31.44 (±4.95)
น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบเดิม 44.3 (±5.03) คะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
p-value < 0.001 และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบเดิมเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด แผลซึม แผลบวม และ
ชาขาข้างที่ผ่าตัดร้อยละ 1.9 2.9 และ 2.9 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อ
มีคะแนนความพึงพอใจต่อการบริการอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ100 และไม่มีการกลับมารักษาตัวซ้ำ
ในโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง
อภิปรายผล
จากนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่จะลดความแออัด ลดรอคอย ลดค่าใช้จ่าย และประชาชนเข้าถึง
บริการที่มาตรฐาน สะดวก ปลอดภัย โดยโครงการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพ
การพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาผลลัพธ์ทางการพยาบาล จากการพัฒนา รูปแบบการพยาบาล
แบบไร้รอยต่อ ในผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบวันเดียวกลับ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
และกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบที่ได้รับรูปแบบการพยาบาลแบบไร้รอยต่อ เกิดความรู้ มีความพึงพอใจ
ต่อการบริการมากกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และไม่กลับมา
รักษาซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง จึงมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้และพัฒนาสู่แนวปฏิบัติต่อไป