Page 581 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 581
P12
การให้บริการการตรวจรักษาผ่านการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
(ERCP : Endoscopic Retrograde Cholangio-Pancreatography)
นางสาวสุรีย์พร คุณสิทธิ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
นิ่วในทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชายและจะพบมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น
ส่วนใหญ่พบได้ในคนที่อายุมากว่า 40 ปีขึ้นไป และสูงขึ้นถึง 15-30 % ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งมีปัจจัย
ที่ส่งเสริมการเกิดโรคจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ดื่มแอลกอฮอล์ โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน ซึ่งนิ่วในถุงน้ำดีอาจพบได้ทั้งที่ผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการ โดยอาการที่พบคือ ท้องอืด
แน่นท้อง ปวดเสียดท้อง ปวดท้องใต้ชายโครงขวาหรือลิ้นปี่ มักเป็นหลังทานอาหารมัน และยังพบอาการที่เกิด
จากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน นิ่วในท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันและลำไส้
อุดตัน ซึ่งการรักษานิ่วในท่อทางเดินน้ำดี มีดังนี้ 1) การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก (Open Cholecystectomy)
2) การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกโดยใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) 3) การรักษา
ทางเดินน้ำดีและตับอ่อนด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร (Endoscopic Retrograde Cholangio-
Pancreatography: ERCP)
ห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว เปิดให้บริการทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
ให้บริการผ่าตัดตามสาขาหลัก ศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูกและข้อ จักษุ นรีเวชและสูติกรรม ให้บริการ
7 อำเภอข้างเคียง มีห้องผ่าตัด 3 ห้อง ห้องตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร 1 ห้อง ศัลยแพทย์ทั่วไป 2 คน
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ 2 คน พยาบาลส่งเครื่องมือ 11 คน ผู้ช่วยพยาบาล 4 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 4 คน
พนักงานห้องผ่าตัด 2 คน ในปี 2560 ได้เริ่มการผ่าตัดโดยผ่านกล้องทั้งสาขาศัลยกรรมและสาขาศัลยกรรม
กระดูกและข้อ ซึ่งจากสถิติผู้รับบริการ 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2562-2566 มีดังนี้ 2,699 คน 3,042 คน
2,301 คน 2,466 คน และ 3,060 คน และผู้รับบริการ EGD 193 คน 272 คน 184 คน 221 คน และ 216 คน
ผู้รับบริการ Colonoscope 212 คน 224 คน 250 คน 24 คน และ 452 คน เกิดความเสี่ยงอุปกรณ์ตกค้าง
ในร่างกายผู้ป่วยหลังผ่าตัด การผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ การเลื่อนผ่าตัดเนื่องจากความไม่พร้อมของทีม
ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ผ่าตัด จึงได้ทำการทบทวนและออกแบบปรับกระบวนการบริการให้สามารถรองรับ
แพทย์เฉพาะทางและเรียนรู้พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้พร้อมสำหรับการให้บริการผ่าตัดที่มี
เทคโนโลยีที่สูงมากขึ้น
การปรับกระบวนการทำงานตามแนวนโยบายการปฏิบัติตามแนวทางในการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัย
ของผู้รับบริการและผู้ให้บริการในระยะผ่าตัด พร้อมทั้งกระบวนการดูแลหลังผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน
ซึ่งกระบวนการผ่าตัดได้พัฒนาระบบผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS) และการผ่าตัด
แผลเล็ก (Minimal Intensive Surgery : MIS) ในโรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคไส้เลื่อน การผ่าตัด
ส่องกล้องไหล่ เข่า การเสริมสร้างเต้านม และในสถานการณ์โควิดได้จัดระบบการผ่าตัดเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด
และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบผู้ป่วยโรคนิ่วในทางเดินน้ำดีที่มีจำนวนมากขึ้น การรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุง
น้ำดีออกและมีวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ได้เห็นถึง
ความสำคัญของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาไม่ต้องเดินทางไกล สามารถเข้าถึงบริการการผ่าตัดได้เท่าเทียมกับ
โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า จึงได้พัฒนาคุณภาพการให้บริการการส่องกล้องตรวจ