Page 625 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 625
Q11
ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมงานวิจัยในมนุษย์โรงพยาบาลสันป่าตอง เอกสารเลขที่ SPT
REC 004/2566 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2566
ผลการศึกษา ผู้วิจัยนำเสนอผลการศึกษา ดังนี้
ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย เป็นเด็กจำนวน 56 คน มีอายุตั้งแต่ 1 เดือน - 14 ปี อายุเฉลี่ย 2.5 ปี
ช่วงอายุระหว่าง 1เดือน – 1 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 29 คน (ร้อยละ 51.7) เป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงคือ
36 คน (ร้อยละ 64.2) ส่วนผู้ป่วยผู้ใหญ่มีจำนวน 44 คน มีอายุตั้งแต่ 31– 93 ปี อายุเฉลี่ย 69.6 ปี ช่วงอายุ
ระหว่าง 66 -75 มีมากที่สุดคือ 15 คน (ร้อยละ 34.0) เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงคือ 31 คน(ร้อยละ 70.4)
โรคที่พบใช้ HHHFNC มากที่สุดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่คือโรค Pneumonia รับไว้นอนในหอผู้ป่วยวิกฤต
มากที่สุด จำนวน 50 คน (ร้อยละ50.0) ส่วนผู้ใหญ่มีการสั่งใช้น้อยกว่าผู้ป่วยเด็ก ผู้ใหญ่มักมีความผิดปกติ
หลายระบบ แพทย์จึงเลือกที่จะใส่ท่อช่วยหายใจมากกว่า
ลักษณะของพยาบาลผู้ใช้รูปแบบการพยาบาลเป็น พยาบาลอายุรกรรมชาย 13 คน อายุรกรรมหญิง
10 คน กุมารเวชกรรม 8 คน หอผู้ป่วยวิกฤต 16 คน มีประสบการณ์ทำงาน 1- 2 ปี 4 คน(ร้อยละ8.5) 3-5 ปี
24 คน (ร้อยละ 51.0) 5-10 ปี 4 คน (ร้อยละ8.5) และมีมากกว่า10 ปี 15 คน (ร้อยละ 31.9) มีพยาบาลที่เคย
ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการใช้เครื่อง HHHFNC มาก่อนจำนวน 11 คน (ร้อยละ 23.4 )
ด้านการปฏิบัติของพยาบาล พบว่ามีการปฏิบัติตามรูปแบบ ก่อนการบำบัดด้วย HHHFNC คือ
การเตรียมอุปกรณ์ได้ถูกต้องตามขั้นตอน ครบถ้วน ได้ร้อยละ 85.1 และการปรับตั้งค่าเริ่มต้น ได้ร้อยละ 87.2
การพยาบาลขณะบำบัดด้วย HHHFNC พบว่าพยาบาลประเมินการตอบสนองต่อการรักษาได้ร้อยละ 76.5
ให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ร้อยละ 74.4 การป้องกันแผลกดทับ ได้ร้อยละ 87.2 การพยาบาล
หลังการบำบัดด้วย HHHFNC พบว่าการประเมินเพื่อหย่าเครื่อง HHHFNC ปฏิบัติได้ร้อยละ76.5
และบำรุงรักษาเครื่องมือได้ถูกต้องร้อยละ 78.7
ด้านผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยเด็กได้รับการปรับอัตราการไหลของอากาศตามน้ำหนักที่เหมาะสม
ผู้ป่วยผู้ใหญ่ได้รับการประเมิน ROX index และการประเมินเพื่อการหย่าเครื่อง HHHFNC เพิ่มขึ้น แตกต่างกัน
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนการเลือก nasal cannula ขนาดที่เหมาะสม จัดตำแหน่ง
ของ cannula อยู่กึ่งกลางจมูก การไม่เกิดแผลกดทับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าเฉลี่ยวันนอน
ลดลงจาก 15.25 วัน เหลือ 6.83 วัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรต่อรูปแบบการพยาบาล พบว่า ความพึงพอใจด้านความเชื่อมั่น
มีความพึงพอใจระดับปานกลางร้อยละ 12.7 ระดับมากร้อยละ 87.2 ด้านมาตรฐานมีความพึงพอใจระดับ
ปานกลาง ร้อยละ 17.0 ระดับมากร้อยละ 82.9 ด้านการปฏิบัติตามแนวทาง มีความพึงพอใจระดับปานกลาง
ร้อยละ 12.7ระดับมากร้อยละ 87.2และมีความพึงพอใจในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากร้อยละ 100
การอภิปรายผล
การพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบากครั้งนี้ พบประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านอุปกรณ์
เครื่องมือ พบว่าขนาดของ cannula ในผู้ป่วยผู้ใหญ่มีให้เลือกขนาดเดียวคือ medium size สาย nasal
cannula บางชิ้นมีสภาพไม่สมบูรณ์ เนื่องจากผู้ป่วยดึงขาดหรือชำรุด ชุดสาย HHHFNC ถูกนำมาใช้ซ้ำ nasal