Page 624 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 624

Q10

                       การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง


                                                                                       นางพราวเดือน  เนตรวิชัย

                                                              โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่   1

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา

                         แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะพร่อง ออกซิเจน (hypoxia) หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลำบาก
                  (respiratory distress) คือ การบำบัดด้วยออกซิเจน (oxygen therapy) ซึ่งอาจเป็นการช่วยหายใจแบบสอด

                  ใส่ท่อ/ ไม่สอดใส่ท่อช่วยหายใจเข้าไปร่างกาย (invasive and/or non-invasive respiratory support)
                  ปัจจุบันมีการให้ออกซิเจนชนิดอัตราไหลสูงผ่านทางสายยางคู่เข้าช่องรูจมูก ที่เรียกว่า “Heated Humidified

                  High Flow Nasal Cannula (HHHFNC)” ได้รับความนิยมมากขึ้น การบำบัดด้วย HHHFNC ถูกนำมาใช้ใน

                  ผู้ป่วยเด็กเป็นเวลานานแล้ว  ภายหลังมีการนำมาใช้ในผู้ป่วยหนักที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  โรงพยาบาลสันป่าตอง
                  เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายระดับทุติยภูมิ ขนาด 222 เตียง มีการใช้ HHHFNC รักษาผู้ป่วยมากขึ้น ทั้งผู้ป่วยเด็ก

                  และผู้ใหญ่ที่มีภาวะหายใจลำบาก พบปัญหาว่าพยาบาลไม่สามารถให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  พบแผลกดทับบริเวณ แก้ม ริมฝีปาก การติดพลาสเตอร์ การยึดตรึงยังมีความหลากหลาย การเลือกขนาดของ

                  nasal cannula ไม่เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ไม่พร้อมใช้  ไม่สามารถปรับตั้งเครื่อง HHHFNC ดูแลความชื้นได้

                  เหมาะสมกับผู้ป่วย ผู้วิจัย ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับ
                  การบำบัดด้วย HHHFNC


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วย HHHFNC

                  ในโรงพยาบาลสันป่าตอง รูปแบบการพยาบาลประกอบด้วย การพยาบาลก่อนการบำบัดด้วย HHHFNC

                  การพยาบาลขณะบำบัดด้วย HHHFNC และการพยาบาลหลังการบำบัดด้วย HHHFNC ศึกษาระหว่าง
                  เมษายน-กันยายน 2566

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  (Research and Development Design ) เพื่อพัฒนาและ
                  ศึกษาถึงผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย High flow Nasal Cannula

                  ในโรงพยาบาลสันป่าตอง จ.เชียงใหม่  การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
                  2) จัดตั้งทีมพัฒนา 3)กำหนดประเด็นพัฒนา 4) สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับ

                  พยาบาลวิชาชีพ 6) วิเคราะห์และรายงานผลลัพธ์  กลุ่มตัวอย่างเป็น เวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก

                  และได้รับการบำบัดด้วย HHHFNC ที่รับไว้นอนในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย อายุรกรรมหญิง กุมารเวชกรรม
                  และหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสันป่าตอง ตั้งแต่ เมษายน 66 – กันยายน 2566 จำนวน 100 ฉบับ

                  และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 47 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
                  มาตรฐาน และเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วย สถิติ t-test
   619   620   621   622   623   624   625   626   627   628   629