Page 64 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 64

A25


                  อภิปรายผล
                         1. รูปแบบการดูแลผู้ป่วย STEMI ด้านการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital) มีความสำคัญ
                  ต่อการนำผู้ป่วยเข้าสู่การวินิจฉัยและให้รักษาโดยเร็ว อันนำไปสู่การรอดชีวิตและลดความรุนแรงของโรค
                         2. การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการดูแลผู้ป่วย STEMI มีความสำคัญต่อการให้การประเมินดูแล
                  และเฝ้าระวังที่เหมาะสมอันนำไปสู่การประเมินภาวะทรุดลงและช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และส่งผล

                  สุดท้ายต่อการรอดชีวิต ถึงแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย STEMI จะลดลงไม่มากแต่การพัฒนาสมรรถนะ
                  บุคลากรทำให้บุคลากรมีความรู้และสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
                         3. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ระบบการส่งต่อและการดูแลต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับ
                  การดูแลอย่างเหมาะสมช่วยอุบัติการณ์รุนแรง อัตราการเสียชีวิต และอัตราการเสียชีวิตหลังจำหน่ายได้

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         สรุป การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่เกิดจากการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรเทียบกับมาตรฐาน
                  ของการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI แล้วออกแบบระบบงานจากมาตรฐาน
                  หรือหลักฐานทางวิชาการ ภายใต้การมีส่วนร่วมคิดของผู้ปฏิบัติ การประเมินผลลัพธ์และปรับปรุงการปฏิบัติ

                  อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบท ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ตลอดจนความพึงพอใจ
                  ของผู้ให้บริการ อันจะนำไปสู่ความเข็มแข็งของผู้มีส่วนร่วม และความยั่งยืนในการพัฒนา ไม่ใช่เพียงแต่พัฒนา
                  ตามแนวนโยบายขององค์กรที่เหนือกว่าเท่านั้น  การศึกษาการพัฒนารูปแบบฯ ครั้งนี้ยังต้องมีการติดตาม
                  และปรับปรุงกลยุทธ์ในประเด็นการดูแล Pre-hospital เนื่องจากกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุในจังหวัดเลยมีจำนวน
                  มากขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว

                  ข้อเสนอแนะ/โอกาสพัฒนา
                         1. ควรเน้นการส่งเสริม Heath literacy ในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปเพื่อไม่ให้เกิดโรคกล้ามเนื้อ

                  หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมทั้งมีความตระหนักรู้ถึงอาการเจ็บหน้าอกที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล
                         2. เผยแพร่แนวทางแก่โรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 8 และโรงพยาบาลที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
                  เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วย STEMI อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                         3. มีแผนในการเปิดห้องปฏิบัติการสวนหัวใจระดับ 2 ที่โรงพยาบาลเลยในปี 2567 เพื่อให้ผู้ป่วย
                  ได้รับการฉีดสีและสวนหัวใจได้ตามมาตรฐานมากขึ้น
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69