Page 65 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 65
A26
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองหลังติดเชื้อโควิด 19
ของอำเภอหนึ่งในจังหวัดยโสธร
เภสัชกรชาญชัย บุญเชิด และเภสัชกรหญิงโสธรา อนุกูลประชา
โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
โรงพยาบาลไทยเจริญ จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การรักษาจากทีมแพทย์และสหวิชาชีพ ในการควบคุมโควิด19 จากการติดตามผลของการรักษา
หลังจากการดำเนินการร่วมมือของ รพ.สต. อสม. โรงพยาบาล ในการควบคุมสถานการณ์โดยใช้ยารักษา
ลดการระบาดในพื้นที่ มีการนำส่งยาถึงบ้าน ลดการแออัดในโรงพยาบาลซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการกระจาย
ของเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากยารักษาไวรัสโควิด เป็นยาใหม่ อีกทั้งผลลัพธ์และประสิทธิภาพของยาที่ใช้
รักษาโควิดยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามและยังต้องรองานวิจัยเพื่อยืนยันถึงผลและประสิทธิภาพของยา ผู้ป่วย
ที่เป็นโรคโควิด19 ส่วนน้อยมีการเจ็บป่วยรุนแรง โดยมีลักษณะการอักเสบ ความเสียหายของหลอดเลือด
และการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดสมอง รวมทั้งอาจเกิด
เหตุการณ์ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงอุดตัน ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ก่อน อาจมีความ
เสี่ยงมากขึ้น การศึกษานี้จึงมุ่งหวังที่จะหาความเสี่ยงของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหลังติด
เชื้อโควิด 19
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหลังติดเชื้อโควิด 19 ของอำเภอแห่งหนึ่ง ในจังหวัด
ยโสธร
วิธีการศึกษา
การวิจัยนี้เป็นวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา (crosssectional descriptive research design)
โดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บข้อมูลในเวชระเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ของ
โรงพยาบาล (HosXP) เป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่าง 11 มีนาคม 2563 ถึง 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ศึกษา
ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหลังติดเชื้อโควิด 19 วิเคราะห์ผลลัพธ์ของการรักษาด้วย
Chi-square test Multiple logistic regression การศึกษาครั้งนี้ได้ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการ
จริยธรรมการวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โดยยึดเกณฑ์ตามคำประกาศเฮลซิงกิ (Declaration
of Helsinki) วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ลำดับที่ 6635/2566 เลขที่ HE 6635
ผลการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีผลการติดเชื้อ โควิด19 แล้วเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
จำนวนทั้งสิ้น 95 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69 ปี มีจำนวนวันอุบัติการณ์ของการเกิด
โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองหลังการติดเชื้อโควิด 19 เฉลี่ย 189 วัน ผู้ป่วยโควิด 19 และเป็นโรคหลอดเลือด
ส่วนใหญ่ได้รับยา Favipiravir ร้อยละ 76.84 และ Molnupiravir ร้อยละ 21.05 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล
พื้นฐานของผู้ป่วยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ได้แก่ เพศ ของผู้ป่วยกับ
การเกิดโรคหัวใจและสมอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.679) ในด้านระดับอายุ (น้อยกว่า 55