Page 63 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 63

A24


                         กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1)ทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร
                  นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร จากโรงพยาบาลเลยและโรงพยาบาลชุมชน 13 แห่งของจังหวัดเลย โดยเลือก
                  แบบเจาะจง จำนวน 50 คน และ 2) ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI
                  จำนวน 160 คน (แบ่งเป็นช่วงต.ค.2565-ก.ย. 2566 จำนวน 132 คนและต.ค.-ธ.ค.2566 จำนวน 28 คน
                  ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเลยและโรงพยาบาลชุมชน 13 แห่ง

                         เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือในการดำเนินการวิจัยและเครื่องมือ
                  เก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 1.1) เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม, แนวคำถามในการ
                  ประชุมกลุ่ม แบบ focus group, แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และ 1.2.) เครื่องมือเชิง
                  ปริมาณ ได้แก่ แบบรวบรวมข้อมูลทั่วไปของทีมสหสาขาวิชาชีพ, แบบบันทึกการปฏิบัติตามรูปแบบฯ, แบบ
                  บันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย STEMI ได้แก่ ข้อมูลอัตราการมาถึงโรงพยาบาลภายใน 150 นาที, แบบบันทึก
                  อุบัติการณ์อาการทรุดลงขณะส่งต่อ, อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล, และอัตราเสียชีวิตภายหลังจำหน่ายใน
                  30 วัน และแบบสอบถามความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ

                  หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI
                         การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
                  วิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI
                  โดยใช้ความถี่ ร้อยละ
                         การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง วิธีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลง: ติดตามประเมินผลกระบวนการ

                  ดำเนินงานจากผู้รับผิดชอบงานเครือข่ายโรคหัวใจประจำจังหวัดเลยทุกเดือนผ่านระบบ Zoom, ติดตามผลลัพธ์
                  ผ่านระบบการรายงานสถิติประจำเดือน/อุบัติการณ์ความเสี่ยงของโรงพยาบาล, ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย
                  STEMI ที่เสียชีวิตทุกราย และเยี่ยมนิเทศหน้างานและโรงพยาบาลชุมชนทุก 3 เดือน โดยมีประเด็นการพัฒนา
                  ดังนี้ 1)Pre-hospital เป้าหมายเพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ร่วมกับชุมชนในการประชาสัมพันธ์
                  ทำสปอร์ตโฆษณาสื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบอาการที่ต้องรีบมารพ. และเข้าถึงบริการ EMS ในชุมชน, ร่วมกับ
                  ทีม NCD ในการเชื่อมโยงข้อมูล CVD RISK ทำ mapping ข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, pop up High CVD risk ใน
                  HosXp, สร้าง web page ความรู้เรื่องโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(STEMI) 2.)In-hospital/Inter

                  hospital มีเป้าหมายลดอัตราเสียชีวิต โดยจัดระบบ Fast track และการดูแลผู้ป่วย STEMI ทั้งที่มาจากบ้าน
                  และเกิดในโรงพยาบาล/พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยโดยการอบรม CPR แก่บุคลากร,
                  อบรมเชิงปฏิบัติการ/สนับสนุนให้มีเครื่องมือให้เพียงพอพร้อมใช้ เช่น เครื่องกระตุกหัวใจ, เครื่องกระตุ้นหัวใจ,
                  เครื่อง Telemedicine/พัฒนาระบบการส่งต่อให้ส่งต่อไปได้รวดเร็วปลอดภัย มี Sky doctor,รพช.ใกล้
                  รพ.แม่ข่าย สามารถรีเฟอร์ไปทำ PCI ได้เลย/พัฒนาโรงพยาบาลเลยให้เป็นโรงพยาบาลที่สามารถฉีดสี

                  และสวนหัวใจได้ภายในปี 2567 3.)Post Hospital เป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตหลังจำหน่ายโดยพัฒนา
                  ระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน/คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ/คลินิกเลิกบุหรี่ และระบบการติดตามดูแลภายหลัง
                  จำหน่ายผ่าน App. Line/THAI COC
                  ผลการศึกษา
                         พบว่า
                         1. จังหวัดเลยมีรูปแบบการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และความ
                  พึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 96.0

                             2. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย STEMI หลังการพัฒนา ในปี 2566 มีผู้ป่วย STEMI ที่มารับบริการจำนวน
                  132 คน และ ปี 2567 (ต.ค.-ธ.ค.2566) 28 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละผู้ป่วย STEMI ที่มาถึงโรงพยาบาล
                  ภายใน 150 นาที เพิ่มขึ้นจากก่อนพัฒนาเป็นร้อยละ 70.4,71.4  อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วย STEMI ลดลง
                  เป็นร้อยละ 7.5, 7.1 และอัตราเสียชีวิตภายหลังจำหน่าย 30 วัน ของผู้ป่วย STEMI ลดลงเป็นร้อยละ 1.6
                  และ 0 ในปี 2566, 2567 ตามลำดับ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68