Page 728 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 728

T15

                                  ผลของการใช้ Telehealth ในการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง

                                               ระยะท้ายที่บ้านโรงพยาบาลลำพูน


                                                                                               ชลาลัย เอกเรื่อง
                                                                     โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน เขตสุขภาพที่ 1
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                         จากการดูแลผู้ป่วยประคับประคองของโรงพยาบาลลำพูน พบว่าผู้ป่วยมีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
                  ถึงความประสงค์ที่ต้องการให้มีการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตที่บ้านถึงร้อยละ 95.0 แต่เมื่อผู้ป่วยมีการ

                  ดำเนินโรคเข้าสู่ระยะท้าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการทางกาย เช่น อาการเหนื่อย อาการปวด เป็นต้น รวมทั้ง
                  ไม่สามารถบริหารยารับประทานได้เช่นเดิม จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการดังกล่าว
                  งานประคับประคองโรงพยาบาลลำพูนจึงได้พัฒนาระบบการดูแลจัดการอาการโดยการให้ยาใต้ผิวหนังในผู้ป่วย
                  ประคับประคองระยะท้ายที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เป็นการดูแลโดยให้

                  ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ดูแลแบบองค์รวม ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยจากไป
                  อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่จากการดำเนินงานยังพบว่าครอบครัวและญาติผู้ให้การดูแลผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง
                  ยังมีความวิตกกังวล และขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้ไม่สามารถพาผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้านได้
                  ตามความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งพบถึงร้อยละ 44.6 งานประคับประคองโรงพยาบาลลำพูนจึงได้มีการนำ

                  Telehealth เข้ามาใช้ในการติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อช่วยให้คำแนะนำผู้ดูแลให้มีศักยภาพในการดูแล
                  ผู้ป่วยประคับประคองระยะสุดท้ายให้ดีมากขึ้น ตลอดจนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และ
                  ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในโรงพยาบาลด้วย

                  วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้ายที่บ้านโดยใช้ Telehealth

                         2. เพื่อให้ผู้ป่วยประคับประคองระยะท้ายที่ได้รับการดูแลที่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความทุกข์
                  ทรมานจากอาการรบกวนต่างๆ ได้รับการดูแลอย่างสมศักดิ์ศรีและคุณค่าของความเป็นมนุษย์

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาในผู้ป่วยประคับประคองระยะท้ายที่รับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน ที่มีความประสงค์
                  จะขอดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตที่บ้าน ในช่วงปี 2566 เป็นการศึกษาจากเหตุไปหาผล (Cohort study)

                  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ซึ่งวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย
                         1. รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา
                         2. เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่

                                2.1 การทำ Family meeting และ Advance care planning ร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว
                                2.2 การวางแผนการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน รวมทั้งให้คำแนะนำในการประเมินและการจัดการ
                         อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยประคับประคองกรณีที่มีอาการเปลี่ยนแปลง
                                2.3 การส่งต่อข้อมูลเยี่ยมบ้านผ่านทางระบบ Thai COC เชื่อมทั้งในและนอกเขตอำเภอเมือง

                         ลำพูน เพื่อให้ทางโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ติดตามดูแลผู้ป่วย
                         ต่อเนื่อง ร่วมกับทีมภาคีเครือข่ายในชุมชน
                         3. การติดตามอาการผู้ป่วยประคับประคองระยะท้ายที่บ้าน ผ่านระบบ Telehealth  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว
                  จะประกอบด้วย การติดตามประเมินอาการผู้ป่วยเช้า-เย็น (ประเมิน PPS and ESAS PHQ-9) การแนะนำการดูแล
   723   724   725   726   727   728   729   730   731   732   733