Page 730 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 730
T17
เฉลี่ยร้อยละ 98.50 นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวด้วย ซึ่งมีหลายการศึกษาที่สนับสนุน
เช่น การศึกษาเรื่อง Patients’ Experiences of Telehealth in Palliative Home Care: Scoping Review
พบว่าการใช้ Telehealth ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงทีมผู้ให้บริการมากขึ้นและเพิ่มความรู้สึกความปลอดภัย
ทำเกิดความสัมพันธ์อันดีต่อทีมสุขภาพ แต่ยังไม่มีความชัดเจนในการช่วยบรรเทาอาการที่ไม่สุขสบายต่างๆ ของ
ผู้ป่วยและในแง่ของการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ในขณะที่มีการศึกษาเรื่อง Advantages and Challenges of
Using Telehealth for Home-Based Palliative Care: Systematic Mixed Studies Review พบว่าการใช้
Telehealth ช่วยสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเข้าใจร่วมกัน
ในความต้องการการดูแล แต่ทั้งนี้ความซับซ้อนของเทคโนโลยีอาจจะเป็นอุปสรรคของการให้บริการของระบบ
ดังกล่าว
สรุปผลการศึกษา
การใช้ Telemedicine ในการดูแลผู้ป่วยประคับประคองระยะท้ายที่บ้าน ช่วยให้ทีมประคับประคอง
สามารถให้การดูแลผู้ป่วยตามแผนการดูแลล่วงหน้าที่ผู้ป่วยได้แจ้งความประสงค์ที่ต้องการให้มีการดูแลในช่วง
วาระสุดท้ายของชีวิตที่บ้าน เป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพแบบองค์รวม เน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และ
เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบตามธรรมชาติสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพและช่วย
empowerment ผู้ดูแลผู้ป่วย ช่วยลดวันนอนในโรงพยาบาลได้เฉลี่ย 2.79 วัน และไม่พบอัตราการกลับมา
นอนโรงพยาบาลซ้ำ ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในโรงพยาบาลด้วย