Page 729 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 729

T16

                  ผู้ป่วยประคับประคองที่มีอาการเปลี่ยนแปลง การนัดรับยาต่อเนื่อง การสนับสนุนการดูแลทางจิตวิญญาณ และ
                  การ Empowerment แก่ญาติผู้ดูแล

                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยประคับประคองที่มีความประสงค์จะรับการดูแลระยะท้ายที่บ้านและมีการให้ยาในกลุ่ม Strong
                  opioid ผ่านอุปกรณ์ให้ยาใต้ผิวหนัง ได้รับการติดตามผ่านระบบ Telehealth ในช่วงปี 2566 มีจำนวน 119 คน
                  เป็นผู้ป่วยเพศชาย 66 คน คิดเป็นร้อยละ 55.46 เพศหญิง 53 คน คิดเป็นร้อยละ 44.54 ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล

                  เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม 46 คน และไม่ใช่โรคมะเร็งจำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 38.66 และ
                  61.34 ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับยาผ่านอุปกรณ์ให้ยาใต้ผิวหนังเนื่องจากมีอาการปวด 45 ราย คิดเป็นร้อยละ
                  37.82 มีอาการเหนื่อย 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 62.18 โดยผู้ป่วยได้รับยาผ่านอุปกรณ์ให้ยาใต้ผิวหนังชนิด
                  syringe driver จำนวน 52 ราย และ Syringe bulb จำนวน 67 ราย จากการดูแลติดตามผ่านระบบ
                  Telemedicine พบว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลที่บ้าน เป็นระยะเวลา 0-3 วัน ร้อยละ 86.55 ระยะเวลา 3-7 วัน

                  ร้อยละ 4.20 และ ระยะเวลา 7 วันขึ้นไป ร้อยละ 9.24 รวมระยะเวลาที่ดูแลที่บ้านเฉลี่ย 2.79 วัน ผู้ป่วยมี
                  คุณภาพชีวิตในระยะท้ายดีขึ้น และผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามทุกรายได้มีช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตที่บ้านตาม
                  ความประสงค์ (Good death) ไม่พบการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ผู้ดูแลมีความพร้อมและมั่นใจในการดูแล

                  ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้นร้อยละ 84.52 ผู้ดูแลและครอบครัวมีความพึงพอใจในการดูแลเฉลี่ยร้อยละ 98.50
                  อย่างไรก็ตามในการติดตามผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านผ่าน Telehealth ยังพบข้อจำกัดในการดำเนินงานจากการที่
                  ผู้ป่วยมีที่พักอยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงการติดต่อสื่อสารได้ทุกครั้ง ซึ่งทางทีมประคับประคองได้
                  ประสานงานกับทางพื้นที่ได้แก่ รพสต. หรือ รพช.ให้เข้าไปช่วยติดตามเยี่ยมประเมินผู้ป่วยที่บ้านร่วมด้วย

                  อภิปรายผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากศูนย์ประคับประคองโรงพยาบาลลำพูน จะมีการวางแผน
                  การดูแลล่วงหน้าถึงความประสงค์ที่ต้องการให้มีการดูแลในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตที่บ้านร้อยละ 95.0 แต่เมื่อ
                  เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิตพบว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลและเสียชีวิตในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 44.6 โดยส่วนหนึ่งเกิด
                  จากความวิตกกังวล และขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลในการวิจัยเรื่อง Factors

                  associated with location of death (Home or Hospital)of patients referred to palliative care term
                  ที่พบว่า ผู้ป่วยเลือกที่จะเสียชีวิตที่บ้านร้อยละ 54.67 เลือกเสียชีวิตในโรงพยาบาลร้อยละ 43.33 และร้อยละ
                  2.0  ยังตัดไม่สามารถตัดสินใจได้  แต่เมื่อเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตพบว่าผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาลถึงร้อย
                  ละ 50

                         จากการศึกษาเรื่อง Home Based Palliative Care: Known Benefits and Future Directions
                  พบว่ามีหลายข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนประโยชน์ของ Home Based Palliative Care ได้แก่ ช่วยลดอาการต่างๆ
                  ของผู้ป่วย ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลโดยไม่มีความประสงค์ และช่วยให้การดูแลผู้ป่วยในช่วงระยะ
                  สุดท้ายของชีวิต ซึ่งรูปแบบการดูแลแบบ Home Based Palliative Care นั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปตาม

                  บริบทของพื้นที่ ในส่วนของศูนย์ประคับประคองโรงพยาบาลลำพูน นอกจากจะมีระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน
                  ผู้ป่วยโดยทีมของโรงพยาบาลแล้ว ยังมีการประสานการดูแลต่อเนื่องกับทีมเครือข่ายบริการสุขภาพในชุมชน
                  เช่น โรงพยาลบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ดูแลผู้ป่วยประจำพื้นที่ที่ผ่านการอบรม เป็นต้น

                  การนำเอา Telehealth เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วยที่มีความประสงค์เลือกการดูแลและวาระสุดท้ายที่บ้าน
                  และมีการให้ยาผ่านอุปกรณ์ใต้ผิวหนัง เพื่อช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลให้มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย
                  ประคับประคองระยะสุดท้ายให้ดีมากขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินงานพบว่าการใช้ Telehealth ทำให้ผู้ดูแลมี
                  ความพร้อมและมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้นร้อยละ 84.52 ช่วยลดวันนอนในโรงพยาบาลได้เฉลี่ย
                  2.79 วัน ไม่พบการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ดูแลและครอบครัวมีความพึงพอใจในการดูแล
   724   725   726   727   728   729   730   731   732   733   734