Page 732 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 732
T19
วิธีการศึกษา
3.1 ประชุมทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลในเครือข่ายอำเภอสามพราน
เพื่อรับทราบ ทบทวน และหาแนวทางแก้ปัญหา รวมถึงการออกแบบระบบร่วมกันในการดูแลผู้ป่วย
3.2 พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรในทีม โดยมีทั้งแบบส่งออกไปฝึกอบรม e-learning
ภายในจังหวัดนครปฐมและการเรียนรู้ร่วมกันในหน่วยงานขณะดูแลผู้ป่วย รวมถึงการเผยแพร่ระบบให้
เครือข่ายเพื่อขยายทีมให้สามารถดูแลเอง/ส่งต่อผู้ป่วยมาให้ทีมดูแลมากขึ้น
3.3 พัฒนาระบบการจัดการด้านยา มีกรอบยาจำเป็นในบัญชีตามกรอบของจังหวัด มีการบริบาล
ทางเภสัชกรรม มีการติดตามการใช้ยายังไม่สมบูรณ์ เพิ่มการรายงานปัญหาจากการใช้ยา (Drug Related
Problem; DRPs) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย เพิ่มการรายงานอาการความทุกข์ทรมาน Edmonton
Symptoms Assessment (ESAS)
3.4 จัดตั้ง Pain management service ที่ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ให้บริการครบวงจร
ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล การวางแผนจำหน่าย และการดูแล
ต่อเนื่องหลังจำหน่ายในชุมชน นอกจากนี้ยังมีการบริการโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยที่ไม่สามารถมาโรงพยาบาลได้
การพัฒนาทักษะในการประเมิน pain score โดยพยาบาลและเภสัชกรทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในการออกแบบ
ประเมิน Pain score ที่ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการบันทึกข้อมูลและนำมาประกอบการปรับเปลี่ยนยา
ในการมานัดติดตามเพื่อรับยาเพิ่มแต่ละครั้ง และสร้างระบบให้ญาติสามารถมารับยาแทนได้
3.5 สร้างเครือข่ายการดูแลในระดับโรพงยาบาลเชื่อมโยงกับ รพสต. เครือข่ายจิตอาสาในชุมชน เช่น
อสม. อปท. เป็นต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้ป่วย
3.6 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่ใน/นอกจังหวัดและเขตสุขภาพอื่นๆ ตลอดจนภาคกลางและ
ระดับประเทศในงาน HA forum ปี 2567 เพื่อสร้างระบบเข้าถึงยา opioids และการดูแลผู้ป่วย palliative
care ให้ครอบคลุมผู้ป่วยในประเทศไทยให้มากที่สุด
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31
มีนาคม พ.ศ. 2567 ทั้งหมด 105 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยอยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย
ส่วนใหญ่มีระดับและความความสามารถในการดูแลตนเอง 10-30% เปรียบเทียบอาการความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน
จากแบบประเมิน ESAS (Edmonton Symptoms Assessment) ก่อนและหลังการดูแลด้วยกระบวนการดูแล
ผู้ป่วยแบบประคับประคอง ดังนี้