Page 731 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 731
T18
ผลของการพัฒนาระบบจัดการอาการรบกวนในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายโดยทีมสหวิชาชีพ
ศิริวรรณ ชุ่มเจริญสุข,ปิติ ชาคริยานุโยค
โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันงานดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้รับความสนใจอย่างมาก ปัญหาการเข้าถึงการรักษา
อาการปวดด้วยกลุ่มยา Opioids ของผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วย
ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการปวดและหอบเหนื่อย อีกทั้งยังมีอาการรบกวนต่างๆ อีกหลายๆ ด้านที่ก่อให้เกิดจะมี
ความกังวลและทุกข์ทรมานใจต่อครอบครัว ทีมผู้รักษาและผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นอันมาก โรงพยาบาลสามพราน
เป็นโรงพยาบาลขนาด 150 เตียง มีระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559
จากการวิเคราะห์ปัญหาพบปัญหาจากการเข้าถึงบริการ ด้านการจัดการอาการปวดและหอบเหนื่อยโดยการใช้
ยากลุ่ม opioids โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยระยะท้ายกลับบ้าน การดูแลผู้ป่วยทำได้เพียงการประคับประคอง
โดยการใช้ยาแก้ปวด การให้ออกซิเจนและยาบรรเทาอาการต่างๆ ซึ่งพบปัญหาผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่สามารถลด
อาการปวดและหอบเหนื่อยที่มีได้ ผู้ป่วยกลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม Opioid เนื่องจากขาด
การประเมินความปวด (Pain score) แล้วนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเริ่มยากลุ่ม Opioid
เมื่อผู้ป่วยมีการดำเนินไปของภาวะความปวดในผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเป็นระบบ ทัศนคติที่ผิดๆเกี่ยวกับการใช้
ยากลุ่ม opioid ที่กลัวการติดยาและอาการอันไม่พึงประสงค์เรื่องการกดการหายใจ ให้ผู้ป่วยปวดจนถึงขั้น
รุนแรงมากจนยากต่อการระงับปวดให้บรรเทาลง ผู้ป่วยกลุ่มที่สองเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม opioid แต่กลับ
ไม่สามารถระงับปวดให้ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ยา
กลุ่มดังกล่าวรวมทั้งยาเสริมอื่นๆ เช่น การให้ยา morphine ชนิดเม็ดออกฤทธิ์เนิ่นแก่ผู้ป่วยเมื่อมีอาการปวด
เฉียบพลันแทนที่จะใช้ morphine syrup ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานกว่ายาจะเริ่มออกฤทธิ์ ทำให้ผู้ป่วย
เข้าใจว่ายาใช้แล้วไม่ได้ผล และเกิดความไม่ร่วมมือในการใช้ยาเป็นปัญหาที่ตามมาปัญหาการให้ยา MST ระงับปวด
แบบ around the clock แต่กลับไม่ให้ยา rescue dose เมื่อผู้ป่วยมี breakthrough pain การให้แต่
Morphine syrup หรือ injection เฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวด แต่กลับไม่ให้ MST แบบ around the clock
เพื่อความคุมอาการปวดต่อเนื่อง หรือการให้ MST ในผู้ป่วยที่กลืนยาเม็ดไม่ได้หรือให้ยาทาง NG feeding
เมื่อผู้ดูแลนำยาไปบดทำให้ยาออกฤทธิ์สั้นลง คุมอาการปวดแบบต่อเนื่องไม่ได้ การไม่ได้ประเมิน pain score
รวมถึงการประเมินและจัดการอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาแล้วนำไปใช้ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสมตามภาวะ
การดำเนินไปของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ การขาดช่องทางให้ผู้ป่วย/ผู้ดูแล ได้มีโอกาส
สะท้อนกลับ/สอบถามปัญหาเพื่อวางแผนการดูแลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเหล่านี้ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้
การระงับปวดหรืออาการรบกวนต่างๆ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร จนมีผู้ป่วยรายหนึ่งนำยา Morphine
ไปรับประทานเกินขนาดเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมานจากความปวด จึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจนเกิด
ผลการพัฒนาคุณภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
2.1 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการอาการรบกวนในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ลดความทุกข์ทรมานและ
เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2566 – 31 มีค. 2567
2.2 อัตราการเข้าถึงยา strong opioids และยาที่ใช้บรรเทาอาการบรรเทาอาการต่างๆ
2.3 ปัญหาการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมลดลงรวมถึงการจัดการ Adverse Drug event ที่ป้องกันได้