Page 736 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 736
T23
การออกแบบระบบบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Design of community-based palliative care service system
in Mueang District, Chaiyaphum Province
อุดมโชค อินทรโชติ
โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การจัดตั้งสถานชีวาภิบาลเป็นหนึ่งในนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2567 มุ่งเน้น ดูแล
ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน
ชุมชน อันเป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนับจนวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีแผน
นำร่องที่วัดวีรวงศาราม ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ โดยมีแนวคิดสนับสนุนให้องค์กรศาสนา องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบสุขภาพ โดยมีบุคลากรด้านสุขภาพเป็นผู้สนับสนุน
ให้เกิดคุณภาพในการให้บริการอย่างเป็นระบบ มีการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาการเตรียมความพร้อมสําหรับการจัดระบบบริการสถานชีวาภิบาล
ผ่านแนวคิด design thinking ที่ให้ผู้ให้บริการทุกระดับมาร่วมกันคิด ตัดสินใจ ออกแบบบริการ โดยมีบุคลากร
ด้านสุขภาพป็นจุดเชื่อม ร่วมวางแผนบริการ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในอนาคต
ที่เป็นรูปธรรม สร้างความมั่นใจและความไว้วางใจแก่ประชาชนผู้รับบริการในมาตรฐานของระบบชีวาภิบาล
เพิ่มคุณภาพชีวิต ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ นําไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์การศึกษา
1) เพื่อออกแบบระบบบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
2) เพื่อจัดทำแนวทางระบบการให้บริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายของระบบบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัด
ชัยภูมิ และแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามระบบที่ออกแบบไว้
4) เพื่อจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปได้ในอนาคต
วิธีการศึกษา
งานวิจัยนี้มีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
เป็นกระบวนการวิจัยเชิงระบบเน้นกระบวนการของการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนผ่านกลไก
การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานสถานชีวาภิบาล โดยมีนายอำเภอเมืองชัยภูมิเป็นประธาน
2) ระดมสมองทีมสหสาขาวิชาชีพ และผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตัวแทนจากองค์กรศาสนา องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนเพื่อร่วมออกแบบระบบบริการ
3) ประสานงานศูนย์อนามัยที่ 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 9
นครราชสีมา เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและร่วมประเมินมาตรฐานบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน
4) พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ให้บริการ ประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพ อสม. Caregiver นักบริบาล
ชุมชน ผู้นำทางศาสนา ให้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด