Page 739 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 739

T26

                        การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

                                       คปสอ.ลำปลายมาศ  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

                                                      นางธัญนันท์  พชรบัณฑิตวงศ์ และนายแพทย์นายธนเมศร์ พิทักษา

                                                               โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         World Health Organization (WHO) ได้ให้ความหมาย ของแต่ละคำว่าไว้ดังนี้ คือ “end of life care”
                  เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมีระยะเวลาของชีวิตไม่เกิน 6 เดือน สำหรับ terminal care เป็นการดูแล
                  ผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต ประมาณ 1 สัปดาห์สุดท้าย โดยทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับ ผู้ป่วยและครอบครัว ให้สามารถ
                  ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างมีคุณภาพ ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่าง มีคุณค่า และเสียชีวิต อย่างสงบ จากบริบท

                  ดังกล่าว กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลลำปลายมาศ  จึงได้เห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะ
                  ประคับประคองจึงได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
                  คปสอ.ลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อกำกับกระบวนการในการติดตามการดูแลผู้ป่วย

                  ระยะประคับประคองหลังมีการจำหน่ายกลับบ้าน ผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน การสร้างเครือข่ายระดับปฐมภูมิ
                  เพื่อการส่งต่อข้อมูลทางคลินิก การประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก การอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลในการดูแล
                  ผู้ป่วยระยะประคับประคอง การติดตามเยี่ยมบ้าน การเสริมพลังสำหรับเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะ
                  ประคับประคองในชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการ การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองในอำเภอลำปลายมาศ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อศึกษาผลของระดับความพึงพอใจของญาติหรือผู้ดูแล และความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อแนวทาง
                  ปฏิบัติของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเพื่อนำไปสู่ภาวะ good death โดยการมี
                  ส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายคปสอ.ลำปลายมาศ

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลัง (retrospective ) รูปแบบการวิจัยแบบเชิงพรรณนา

                  (Descriptive research ) ศึกษาแบบวัดผลลัพธ์ วัดผลก่อน-หลัง เพื่อติดตามผลของการพัฒนารูปแบบการดูแล
                  ผู้ป่วยระยะประคับประคอง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย คปสอ.ลำปลายมาศ ในการศึกษาดูแลผู้ป่วย
                  ระยะประคับประคองมีระบบในการดูแลดังนี้
                         1. ปัจจัยในการวางแผนล่วงหน้า ( Advance care plan)

                         2. การวางแผนการประเมินผู้ป่วยด้วยแบบประเมิน PPS score
                         3. การให้การดูแลรักษาอาการตามแบบประเมิน ESAS score
                         4. การให้ความรู้กับครอบครัว Family planning การดูแลแบบองค์รวมครอบคลุม มิติ กาย จิต
                  อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ

                         5. การโทรติดตามหรือการลงเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินทางการแพทย์และการรายงาน
                  อาการผู้ป่วย ระยะเวลาในการศึกษาข้อมูล 1 ปี (ตุลาคม 2565-กันยายน2566) การวิเคราะห์ข้อมูล
                  (Outcome measurement/Data Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่
                  ร้อยละ
   734   735   736   737   738   739   740   741   742   743   744