Page 735 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 735

T22

                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.0020) เปรียบเทียบความรุนแรงของอาการครั้งที่หนึ่ง กับครั้งที่สาม
                  พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.0388) และเมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนน

                  PPS พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.0006) เช่นกัน เปรียบเทียบความรุนแรง
                  ของอาการครั้งที่สอง กับครั้งที่สามพบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.0019)
                  แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนน PPS พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =
                  0.1608)


                  อภิปรายผล
                          คุณภาพชีวิตโดยรวมตามระยะเวลาการดำเนินของโรค พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยแบบประเมิน
                  PPS ครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่สอง และครั้งที่สามลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยทุกรายมีอาการของโรคไตวายระยะ
                  สุดท้ายเมื่อระยะเวลาผ่านไป อาการของโรคจึงมีความรุนแรง สอดคล้องกับ วรัญญา จิตรบรรทัด และมิ่งขวัญ
                  เกตุกำพล พบว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีค่าคะแนนความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง (PPS) ลดลงอย่างมี

                  นัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.001) แต่วิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับ ACP และมีการจัดการอาการที่ดี
                  คะแนนจึงลดลงอย่างช้าๆ ส่งผลให้การเปรียบเทียบคะแนน PPS ครั้งที่หนึ่ง กับ ครั้งที่สอง และครั้งที่หนึ่ง กับ
                  ครั้งที่สามคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ครั้งที่สอง กับครั้งที่สามคะแนนลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ

                  ทางสถิติ เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยได้รับ ACP สามารถเข้าใจถึงอาการป่วย เตรียมพร้อมรับมือกับสภาพร่างกายและ
                  จิตใจ และได้รับการจัดการอาการจากทีมสหวิชาชีพ
                         เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรง ครั้งที่หนึ่ง กับครั้งที่สามและครั้งที่สอง กับครั้งที่สามลดลงอย่าง
                  มีนัยสำคัญทางสถิติ ACP ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สอดคล้องกับ Jintana, and Jutamas พบว่ารูปแบบการดูแล

                  แบบประคับประคองและ ACP ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในชุมชนทำให้ผู้ป่วยเกิดความอุ่นใจ เข้าใจ
                  ทำใจ และปลงใจ ซึ่งเป็นการดูแลเข้าใจตามบริบท นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในสิ่งแวดล้อมของตนเอง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                          ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายมีอาการของโรคที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การดูแลผู้ป่วยแบบ
                  ประคับประคองและ ACP ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงกับความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัว

                  มากที่สุด เมื่อผู้ป่วยตระหนักและเข้าใจถึงความเจ็บป่วยรวมถึงได้รับการจัดการอาการที่ดีส่งผลให้คุณภาพชีวิต
                  ดีขึ้นสวนทางกับร่างกายที่สภาพการทำงานของไตลดลงตลอดเวลา

                  ข้อเสนอแนะ
                          ควรมีสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับ ACP เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงทางเลือกวิธีการรักษา
                  จัดตั้งคลินิก ACP วันเดียวกับคลินิกผู้ป่วยโรคไต เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง และมีการจัดทีมสหวิชาชีพ

                  ที่ดูแล ACP รวมถึงควรมีการประเมินติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการกับอาการทุกข์ทรมาน
                  อาการไม่สุขสบาย ลดความเครียดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
                         ควรมีการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับ ACP ในผู้ป่วยทุกโรคที่มีการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้เห็น

                  ความแตกต่างตามลักษณะของความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกัน
   730   731   732   733   734   735   736   737   738   739   740