Page 740 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 740

T27

                  ผลการศึกษา
                         จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเพศหญิง ร้อยละ 46.70 เพศชาย ร้อยละ

                  53.31 มีอายุเฉลี่ย 67.46 (SD=15.76) BMI เฉลี่ย 21.60 (SD=4.37) กลุ่มโรคของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่
                  โรคมะเร็ง ร้อยละ 56.66 และระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 43.33 ดังตารางที่ 1

                  ตารางที่ 1.  ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (N=30)

                                       ข้อมูลทั่วไป                             ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ /SD)
                   เพศ                                หญิง                                     46.70

                                                       ชาย                              53.31
                                               อายุ                               67.46 (SD=15.76)
                                               BMI                                21.60 (SD=4.37)
                   กลุ่มโรค                          มะเร็ง                            56.66

                                      Respiratory failure                              43.33

                  ตารางที่ 3. ผลระดับเฉลี่ยการประเมิน PPS , ESAS ของผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังได้รับการดูแลตามแนวทาง
                            การพัฒนาของการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง เพื่อเข้าสู่ภาวะ good death (n = 30)


                         การเปรียบเทียบ               (Mean) n=30
                                               ก่อน        SD         หลัง       SD

                      ค่าเฉลี่ย PPS           34.66       19.42      0.00        0.00
                      ค่าเฉลี่ย Pain           9.30       0.74          0.00     0.00
                      ค่าเฉลี่ย dyspnea        9.33       0.71       0.00        0.00


                  อภิปรายผล
                         จากการศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมของภาคี
                  เครือข่ายระดับ คปสอ.ลำปลายมาศ โดยมีแนวทางการให้การดูแลตามแนวทาง Advance care plane การให้

                  การประเมินการดูแลผู้ป่วยตามแบบประเมิน PPS และ การประเมิน ESAS จากผลการศึกษาพบว่าผลของ
                  ระดับความพึงพอใจต่อแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองง พบว่า ญาติหรือผู้ดูแล
                  ผู้ป่วยระยะประคับคอง มีระดับความพึงพอใจในการเข้าถึงการบริการระดับพึงพอใจมาก และการแสดงความ

                  คิดเห็นของเจ้าหน้าที่ พบว่าเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นด้วยในระดับเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้  ผู้ป่วยระยะ
                  ประคับประคองได้รับการดูแลจนเข้าสู่ภาวะ good death คิดเป็นร้อยละ 100 สอดคล้องกับการศึกษาของ
                  ชลลดา ทิพยจันทร์ ( 2566) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการปรับตัวของญาติที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วย
                  ด้วยโรคเรื้อรังตึกผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ญาติ

                  ที่ดูแล ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ญาติที่ดูแลสำรวจค้นพบปัญหาด้วยตัวเอง 2) ส่งเสริมให้ญาติที่ดูแลมีการสะท้อนคิด
                  อย่างมีวิจารณญาณเป็นการพยายามทบทวนเหตุการณ์และสถานการณ์อย่างรอบคอบเพื่อทำความเข้าใจ 3) ส่งเสริม
                  ให้ญาติที่ดูแลมีการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติด้วยตนเอง 4) ส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลมีการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่ดี
                  เพื่อให้ครอบครัวสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในตนมาใช้ในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของสมาชิกได้อย่าง

                  ต่อเนื่องและยั่งยืน การศึกษาของทัศนีย์ เทศประสิทธิ์และคณะ (2554) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                  ศึกษาสถานการณ์การจัดระบบการดูแลแบบประคับประคอง เพื่อพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองใน
                  ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในโรงพยาบาลอุดรธานี และเพื่อศึกษาผลลัพธ์การ พัฒนาระบบการดูแลแบบ
   735   736   737   738   739   740   741   742   743   744   745