Page 737 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 737
T24
5) ผลักดันระบบบริการชีวาภิบาลที่ออกแบบไว้ นำไปใช้ในบริบทของการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home
Ward)
ผลการศึกษา
• การออกแบบระบบบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
1. แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1.1 ระบบบริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน ณ วัดวีรวงศาราม ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
- รูปแบบการให้บริการโดยให้พักค้างคืน
- ผู้ป่วยต้องผ่านการประเมินจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รพ.ชัยภูมิ ทุกราย จัดทำ
เอกสารส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงแผนการรักษา
1.2 ผู้ป่วย Long term care และ Palliative care ที่ประสงค์รับการดูแลที่บ้าน สามารถรับ
บริการในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน หรือ Home Ward
2. ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance care planning) มีการบันทึกใน
เวชระเบียน และตั้งระบบ Pop-up ใน HOSxP
3. จัดทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมดูแลผู้ป่วย ร่วมกับ Caregiver นักบริบาลชุมชน และ อสม.
4. วางระบบ WiFi พัฒนาระบบ Telemedicine ในการติดตามอาการผู้ป่วย และมีช่องทางติดต่อกรณี
ฉุกเฉิน หรือ กรณีผู้ป่วย/ญาติ ต้องการปรึกษา
5. จัดตั้งศูนย์ดูแลต่อเนื่องในชุมชน จัดระบบยืม-คืน อุปกรณ์ทางการแพทย์
6. บริหารจัดการยาระงับปวดและยาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองลงสู่ระบบชีวาภิบาล
โดยผ่านการกำกับติดตามโดยเภสัชกรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรประคับประคอง
7. มีระบบการจัดการขยะติดเชื้อถูกต้อง เหมาะสม โดยทาง รพ.ชัยภูมิจัดรถรับขยะติดเชื้อที่วัดวีรวงศาราม
และ รพ.สต. อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
8. ทาง อบต.นาฝาย และเครือข่ายวัดวีรวงศาราม ดำเนินการพัฒนาจิตอาสายกระดับเป็น Caregiver
9. วางแผนดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย ค่าสาธารณูปโภค
รวมถึงค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากสาธารณสงเคราะห์ เช่น ค่าตอบแทน Caregiver และ นักบริบาลชุมชน เป็นต้น
• แนวทางระบบการให้บริการสถานชีวาภิบาลในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ได้จัดทำแนวทางดำเนินงาน และเกณฑ์ในการรับผู้ป่วยเข้ารับบริการในสถานชีวาภิบาล ดังนี้