Page 734 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 734
T21
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
แพทย์หญิงขวัญชนก โรจนศิริพัฒนพล
โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคไตระยะสุดท้าย (end-stage renal disease [ESRD]) หมายถึง ภาวการณ์ล้มเหลวและเสียหน้าที่
ของไตอย่างถาวรมีอัตราการกรองของไตลดลงเหลือน้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวร่างกาย 1.73
ตารางเมตร การรักษาแบบไม่ฟอกไตเป็นการดูแลรักษาที่เน้นลดภาวะแทรกซ้อนและควบคุมอาการคุกคาม
ที่เกิดขึ้นจากภาวะไตวาย การวางแผนดูแลตัวเองล่วงหน้า (ACP) เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารถึงเจตจำนงของ
ผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องการให้ปฏิบัติในอนาคตเมื่อผู้ป่วยอาจมีอาการทรุดหนักลงหรือเข้าสู่ระยะท้ายของ
ชีวิต ทำให้เขารู้สึกมั่นคง ปล่อยวางและจากไปอย่างสงบได้ คุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้าน
รวมกันได้แก่ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิตใจ และสุขภาพทางสังคม โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ซึ่งประสบปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เป็นโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลานาน ส่งผลให้ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการฟอกไตจะต้องเผชิญกับตัวโรคและมีผลให้คุณภาพชีวิตต่ำลง สำหรับ
โรงพยาบาลพล เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ 90 เตียง มีคลินิก ACP ตั้งแต่ปี 2560 ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตวาย
เรื้อรังในปี 2562-2564 เป็นจำนวน 140, 107, และ 85 รายตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่เลือกรับการรักษาโดย
ไม่บําบัดทดแทนไต และได้รับ ACP เพื่อการรักษาแบบประคับประคอง ในปี 2562-2564 เป็นจํานวน 32, 44
และ 49 ตามลําดับ
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามระยะเวลาการดำเนินของโรคของผู้ป่วย
โรคไตวายระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการฟอกไตและได้รับ ACP โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า ประชากร คือผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการฟอกไต
และได้รับ ACP ในโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยอายุรแพทย์ ในปี 2565 จำนวน 47 คน
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการสอบถามความสมัครใจผู้ป่วยทุกราย ติดตามผู้ป่วยเดือนละครั้งจนครบ
3 ครั้ง ด้วยวิธีการนัดหมายเข้ารับบริการ การเยี่ยมบ้านพร้อมทีมสหวิชาชีพร่วมกับรพ.สต.และอสม. และ
บริการการแพทย์ทางไกล (TeleMed) ตามความสะดวกของกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต
ด้วยแบบประเมินความรุนแรงของอาการ (ESAS)และแบบประเมิน PPS (Palliative Performance Scale)
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Frequency (range), mean (standard deviation) และ paired t-test
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 30 คน ได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 100 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง
ร้อยละ 73.3 มีอายุเฉลี่ย 75.87 ปี (sd 9.83 ปี) ผลการวิเคราะห์คุณภาพชีวิตโดยแบบประเมิน PPS พบว่า
ผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ย 67.00 (sd 22.46), 56.67 (sd 25.10) และ 55.33 (sd 23.74) ตามลำดับ ด้านความรุนแรง
ของอาการ (ESAS) พบว่า ความรุนแรงของอาการ มีค่าเฉลี่ย 10.40 (sd 13.61), 13.20 (sd 16.19) และ 5.63
(sd 6.51) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการครั้งที่หนึ่ง กับครั้งที่สอง พบว่ามีความแตกต่างกัน
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.7873) แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนน PPS พบว่ามีความแตกต่างกัน