Page 139 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 139

C14



                         2. เพื่อประเมินผลการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ จังหวัดนครสวรรค์
                  วิธีการศึกษา
                            รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาแบบมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
                                ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์  สภาพปัญหาการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง
                  ในระบบส่งต่อ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งตัวมา

                  รับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567
                                ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ จังหวัด
                  นครสวรรค์ โดย (1) กำหนดรูปแบบการประเมินผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ก่อนการส่งต่อ ขณะการส่งต่อ และเมื่อถึง

                  โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยให้บันทึกผ่านระบบโปรแกรม Three Refer (2) ประสานงานกับทีม
                  นักวิชาการคอมพิวเตอร์พัฒนาโปรแกรมการบันทึกอาการ สัญญาณชีพ การดูแลผู้ป่วยก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ
                  และเมื่อถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รูปแบบดิจิทัล (3) จัดประชุมชี้แจงพยาบาลส่งต่อในจังหวัด
                  นครสวรรค์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ

                  จังหวัดนครสวรรค์ (4) ชี้แจงเจ้าหน้าที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในการบันทึกสัญญาณชีพที่มาถึงที่
                  โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                                     ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เริ่มตั้งแต่เดือน 1 กุมภาพันธ์ 2567 โดย
                  กำหนดให้พยาบาลบันทึกอาการผู้ป่วยก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลการประเมินผู้ป่วยวิกฤต

                  ฉุกเฉิน Lever I ที่ต่อเนื่องในโปรแกรม Three Refer
                                ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ
                  จังหวัดนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้นมา

                  การกำหนดตัวอย่าง
                         กลุ่มประชากร  เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

                         กลุ่มตัวอย่าง  เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนที่มีการติดตามอาการผู้ป่วย
                  ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ จังหวัดนครสวรรค์

                  วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                         เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ อายุมากกว่า 15 ปี

                  มีการบันทึกข้อมูลครบถ้วนในเวชระเบียน การส่งต่อที่มีการประเมินผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และ
                  เมื่อถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ ; วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย

                  ผลการศึกษา
                                         1.การส่งต่อที่ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง

                                                          เดือน       เดือน     เดือน       เดือน
                                 รายการ                 พฤศจิกายน  ธันวาคม  มกราคม  กุมภาพันธ์  รวม
                                                          2566        2566       2567       2567
                    1.การส่งต่อที่ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วยที่ต่อเนื่องในโปรแกรม Three Refer

                         - จำนวนการส่งต่อทั้งหมด (ราย)     205         245       204         159       813
                         - จำนวนการส่งต่อที่ใช้แบบการ       13          27        44         70        154
                    ติดตามอาการผู้ป่วย (ราย)

                             คิดเป็นร้อยละ                 6.34       11.02     21.56       44.03     20.73
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144