Page 140 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 140
C15
รายการ ก่อนใช้ หลังใช้
2.สัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง (NEWS)
- จำนวนการส่งต่อที่ใช้แบบประเมินผู้ป่วย 84 70
จำนวน NEWS ไม่แย่ลง (≤ 0) (ราย) 40 47
คิดเป็นร้อยละ 47.61 67.14
จำนวน NEWS แย่ลง (≥ 0) (ราย) 44 23
คิดเป็นร้อยละ 52.38 32.85
3.ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเมื่อถึงรพ. สวรรค์ประชารักษ์ 8 2
คิดเป็นร้อยละ 23.53 5.26
อภิปรายผล
การส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้แบบบันทึกการติดตามอาการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินในโปรแกรม Three Refer
มีแนวโน้มสูงขึ้นและอาการผู้ป่วยเมื่อมาถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ค่าสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง
(NEWS Score) ไม่แย่ลงหลังใช้แบบประเมิน ร้อยละ 67.14 ซึ่งในการส่งต่อที่มีการบันทึกแบบประเมินการ
ส่งต่อผู้ป่วย แสดงได้ว่าถ้ามีการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนส่งต่อขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการไม่แย่ลงขณะส่งต่อเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเมื่อถึงรพ.สวรรค์ประชารักษ์ แนวโน้ม
ลดลงชัดเจน อยู่ที่ร้อยละ 5.26 แต่พบว่า การดูแลส่งต่อผู้ป่วยที่มีการบันทึกในกระดาษที่ไม่ใช้โปรแกรมก็มีการ
บันทึกมาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งต้องมีการกระตุ้นให้ใช้การบันทึกในโปรแกรมเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการวางแผน
ดูแลผู้ป่วยต่อไปได้ ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล และอยู่ในระบบโปรแกรม Three Refer ข้อมูลการใช้รูปแบบ
การประเมินผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์อาจจะต้องเพิ่มระยะเวลาการเก็บ
ข้อมูลเนื่องจากข้อมูลยังมีไม่มากพอจึงไม่เห็นความแตกต่างมากนัก
สรุปและข้อเสนอแนะ
การประเมินผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลปลายทางที่มีการประเมิน
ที่ต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยอาการไม่แย่ลงและมีความปลอดภัยขณะส่งต่อ จึงควรส่งเสริมให้พยาบาลที่ส่งต่อ
มีการบันทึกอาการ สัญญาณชีพ อย่างต่อเนื่องตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วย และถ้ามีการใช้เครื่องติดตาม
อาการผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ (Telemedicine )และระบบการปรึกษาแพทย์ขณะส่งต่อ จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วย
ส่งต่อได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้นจากแพทย์ ปลอดภัยมากขึ้น และควรขยายไปใช้ทุกโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 3