Page 159 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 159

C34


                  ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วย

                  Stroke ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในบริบทที่เหมาะสมกับโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาล
                  วิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย Stroke ในหน่วยงาน มีกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ได้คุณภาพมาตรฐาน บริการที่รวดเร็ว
                  ลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการภาวะเร่งด่วน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

                  สมองตีบและอุดตันเฉียบพลัน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
                         2. เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและ
                  อุดตันเฉียบพลัน ของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

                         3. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบ
                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยศึกษาในพยาบาลประจำการหน่วยงาน
                  อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จำนวน 13 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                  แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ในช่วง เดือน เมษายน พ.ศ. 2566 - ธันวาคม พ.ศ. 2566 แบ่งเป็น

                  ระยะเตรียมการ ระยะปฏิบัติการ ระยะประเมินผล โดยใช้กรอบแนวคิด การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
                  Deming cycle มาใช้เป็นกรอบในการศึกษา ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Plan: P) นำผลการวิเคราะห์เกี่ยวข้องกับ
                  การดูแลผู้ป่วยมาวางแผนพัฒนา 2) การปฏิบัติตามแผน (DO : D ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพของหน่วยงาน
                  ชี้แจงวัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนารูปแบบให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรับทราบ เพื่อขอความคิดเห็น

                  ข้อเสนอแนะและกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนา นำรูปแบบที่พัฒนามาทดลองใช้ 3) การตรวจสอบการปฏิบัติ
                  ตามแผน (Check: C) ใช้แบบสอบถาม ใช้การสังเกตสภาพจริง ในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอด
                  เลือดสมองตีบและอุดตันเฉียบพลัน ของพยาบาลวิชาชีพ 4) ปรับปรุงแก้ไข (Act: A) นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุง
                  แก้ไขรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                  (Content Analysis)

                  ผลการศึกษา
                         ผลการวิจัย ประเด็นปัญหาจากการวิเคราะห์ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า สมรรถนะ
                  พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 48.18 ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินก่อนการพัฒนาขาดความชำนาญในด้านการประเมิน

                  การตรวจร่างกายทางระบบประสาทของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ
                  ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การให้ความรู้ผ่านสื่อวิดีทัศน์ การพัฒนาทักษะด้วยกระบวนการ Coaching โดยพี่เลี้ยง
                  ที่เชี่ยวชาญในหน่วยงาน สอนการปฏิบัติที่สำคัญที่ต้องการให้บุคลากรเกิดการพัฒนาสูงสุด  ประเมินการปฏิบัติการ
                  พยาบาลโดยการสังเกต ตามคู่มือการนิเทศทางการพยาบาลทางคลินิก พยาบาลวิชาชีพสามารถจัดการภาวะ
                  เร่งด่วนของผู้ป่วยถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการพัฒนา ระดับความ

                  พึงพอใจมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 97.85 อัตราผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 60 นาที ร้อยละ 88.89 ผลการ
                  ติดตามอาการผู้ป่วยหลังได้รับยาอาการดีขึ้น ร้อยละ 88.89 และรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการ
                  จัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันเฉียบพลัน ดังแผนภาพ
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164