Page 254 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 254

F12


                         2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืดของผู้ดูแลเด็กกลุ่มทดลอง
                  ในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืด

                  วิธีการศึกษา : เป็นวิจัยแบบ Quasi-experimental research two-group pre-post-test design
                  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กอายุระหว่าง 7-12 ปี ป่วยด้วยโรคหืดที่เข้ารับการตรวจรักษาที่ OPD เด็ก

                  โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คน ซึ่ง
                  มี Inclusion criteria ดังนี้ 1) คุณสมบัติของผู้ดูแล เป็นผู้ดูแลหลัก มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่เคยเข้าร่วมงาน
                  วิจัยเกี่ยวกับโรคหืด เข้าใจภาษาไทย รวมทั้งมีความสามารถในการใช้สมาร์ทโฟนได้ และยินยอมเข้าร่วม
                  การวิจัยครั้งนี้ 2) คุณสมบัติของเด็กป่วย เป็นเด็กอายุ 7-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เป็นโรคหืดที่ไม่มี

                  อาการรุนแรง ไม่เคยเข้าร่วมงานวิจัย และเข้ารับการรักษาที่ OPD เด็ก Exclusion criteria คือ มีการเจ็บป่วย
                  รุนแรงขึ้น หรือมีอาการโรคหืดที่ควบคุมไม่ได้ และถอนตัวออกจากโครงการวิจัย รวมทั้งย้ายโรงพยาบาล
                  โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับการพยาบาลตามปกติ และได้รับ
                  โปรแกรมการชี้แนะผู้ดูแลเด็กโรคหืดแบบบูรณาการของสหสาขาวิชาชีพ ตามแนวคิดของ June Girvin (1999)

                  และการติดตามสุขภาพทางไกล (Telehalth) ผู้ดูแลเด็กจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้ง
                  จะใช้เวลา 20-30 นาที ได้แก่ การพบผู้ดูแลเด็กครั้งที่ 1 ที่ OPD ซึ่งเป็นวันแรก โดยผู้ดูแลเด็กตอบแบบสอบถาม
                  ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืดก่อนการทดลอง การพบครั้งที่ 2, 3 และ 4 เป็นการพบ
                  ทาง Telehealth: โดยพบพยาบาลร่วมกับแพทย์ เภสัช และพยาบาล ซึ่งผู้ดูแลเด็กจะได้รับความรู้เกี่ยวกับโรค

                  สาเหตุ อาการ การรักษา โดยเฉพาะยาพ่นเด็กโรคหืด รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้านการดูแล พฤติกรรมการดูแลเด็ก
                  โรคหืด การพบครั้งที่ 5 เป็นการติดตามเยี่ยมบ้านโดยชุมชน ตามพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อประเมินความรู้
                  และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืด และการพบครั้งที่ 6 ที่ OPD ในวันมาตรวจตามนัด พร้อมทำแบบสอบถาม
                  หลังการทดลอง


                  ผลการศึกษา
                         ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้ง 2 กลุ่ม ผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ เป็นมารดา มีอายุ
                  อยู่ในช่วง 31-50 ปี มีระดับการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญา และปวส. ขึ้นไป ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ
                  มีสถานภาพสมรสคู่ ส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้าง ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคหืดจากบุคลากรทางการแพทย์
                  มากที่สุด ข้อมูลทั่วไปของเด็กป่วย  ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุ 10-11 ปี  ใน 1 เดือนที่ผ่านมาไม่เคยหอบ

                  ส่วนใหญ่มีโรคร่วมคู่กับโรคหืด และคะแนน ACT Score ส่วนมากอยู่ที่ 25 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบข้อมูล
                  ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
                         ภายหลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืดกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้

                  และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t58 = 5.73,
                  p = < .001 และ .05 (t58 = 5.87, p = < .001) ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 1

                  ตารางที่ 1  เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืด
                                ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (n = 60)

                                                กลุ่มควบคุม    กลุ่มทดลอง     df      t      p-value
                                                M (SD)         M (SD)

                   ความรู้ของผู้ดูแลเด็ก
                   ก่อนได้รับโปรแกรมการชี้แนะ   2.67 (.169)    2.79 (.104)    58      -.25    .806
                   หลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ   2.67 (.144)    2.92 (.059)    58      -5.73  < .001
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259