Page 255 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 255
F13
กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง df t p-value
M (SD) M (SD)
พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก
ก่อนได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.66 (.158) 2.70 (.159) 58 -.76 .452
หลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.82 (.125) 2.91 (.060) 58 -5.87 < .001
ภายหลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ ผู้ดูแลเด็กโรคหืดที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้
และพฤติกรรมการดูแลสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมการชี้แนะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ
.05 (t29 = 11.73, p < .001) และ .05 (t21 = 9.08, p < .001) ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืดภายใน
กลุ่มทดลอง ระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ (n = 30)
ความรู้ของผู้ดูแลเด็ก M (SD) d SDd df t p-value
ความรู้ของผู้ดูแลเด็ก
ก่อนได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.67 (.14) .28 .02 29 11.73 < .001
หลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.95 (.06)
พฤติกรรมของผู้ดูแลเด็ก
ก่อนได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.70 (.16) .22 .02 29 9.08 < .001
หลังได้รับโปรแกรมการชี้แนะ 2.92 (.06)
อภิปรายผล
ผลการศึกษา ผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืดทั้งภายในกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง พบว่า
กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ และพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งนี้อภิปรายได้ว่า ผู้ดูแลเด็กกลุ่มทดลอง
มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการดูแลเด็กโรคหืดเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
โดยมาจากการปฏิบัติกิจกรรมตามโปรแกรมการชี้แนะแบบบูรณาการของสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้วิธีติดตาม
สุขภาพทางไกล ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ตามแนวคิดของ Girvin (1999) ซึ่งผู้วิจัยมีการสร้างสัมพันธภาพ ตกลง วางแผน
ลงมือปฏิบัติ และประเมินผลร่วมกัน ปัญหาที่พบ คือ ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ แต่ขาดประสบการณ์ ขาดความมั่นใจ
บางครั้งฟังอธิบายแล้วลืม เมื่อกลับไปบ้านเกิดปัญหาไม่รู้จะปรึกษาใคร ช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ไม่สะดวก
คนพามาตรวจไม่ได้เป็นคนดูแลตลอด และไม่สามารถถ่ายทอดให้คนดูแลต่อได้ เมื่อมีช่องทางติดต่อทางไลน์
เกิดความสะดวกในการติดต่อสอบถาม มีทีมสหสาขาวิชาชีพให้สามารถปรึกษาได้ มีข้อมูลที่ทันสมัย เข้าใจง่าย
สามารถส่งต่อให้คนดูแลคนอื่นนอกเหนือจากคนที่พามาตรวจได้ มีการติดตามเยี่ยมบ้านรู้สึกเหมือนมีเจ้าหน้าที่
ดูแลใกล้ชิด เกิดสัมพันธภาพที่ดี อบอุ่น และเอื้ออาทร สิ่งเหล่านี้เรียกว่าคุณค่า และเป็นคุณภาพจากการดูแล
ของเรา
สรุปและข้อเสนอแนะ
โปรแกรมการชี้แนะผู้ดูแลเด็กวัยเรียนโรคหืดแบบบูรณาการร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ผู้ดูแล
เด็กมีความรู้ ความสามารถ เกิดทักษะ ความชำนาญในการดูแลเด็กโรคหืด ส่งผลให้ผู้ดูแลเด็กโรคหืดมีความรู้
และมีพฤติกรรมการดูแลเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงสามารถนำโปรแกรมการชี้แนะนี้ ไปส่งเสริมผู้ดูแลเด็กโรคหืดได้
ข้อเสนอแนะ ควรมีการติดตามการศึกษาต่อในระยะเวลานานเป็นปี ซึ่งอาจส่งผลต่อการ Re visit และ
Re Admit และนำการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการศึกษาการชี้แนะ ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคอื่น ๆ