Page 323 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 323
H3
ด้วยโรคช่องปาก เครือข่ายทันตบุตลากรจังหวัดเชียงรายได้เห็นถึงความสำคัญนี้ จึงได้พัฒนารูปแบบการดูแล
สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ
จังหวัดเชียงราย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย) ในการพัฒนาศักยภาพของอสม.และบุคลากรสาธารณสุข
ข้างเคียงที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน และเป็นการลดข้อจำกัด
ที่เกิดจากการเข้าถึงบริการและเพิ่มความเป็นธรรมด้านสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จากผลลัพธ์ของโครงการ
พบว่าอสม.และบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้และทักษะในการคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนในผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิง โดยสามารถคัดกรองสุขภาพช่องปากได้มากขึ้น (ร้อยละ 74.0) เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2565
(ร้อยละ 47.7) รวมถึงสามารถติดต่อประสานงานกับทันตบุคลการในการส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
และเกิดระบบบริการสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามบริบทของแต่ละอำเภอ และสามารถ
นำนโยบายกลไก 3 หมอมาสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการทางการแพทย์
ทางไกลได้มากขึ้น ทำให้เกิดระบบบริการเชื่อมโยงระบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ เกิดการสื่อสารระหว่าง
วิชาชีพและระบบการส่งต่อในจังหวัดที่เหมาะสมมากขึ้น
สรุปผลการศึกษา
การพัฒนารูปแบบการดูแล ฟื้นฟู สุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ด้วยกลไก 3 หมอ ทำให้
อสม.และบุคลากรสาธารณสุขข้างเคียงมีศักยภาพในการคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนเบื้องต้น
สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปาก และได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ
สุขภาพช่องปากที่เหมาะสมมากขึ้น เกิดแนวทางการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันการเกิดโรคช่องปาก
รุนแรง รวมถึงเกิดระบบบริการสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมมากขึ้นในระดับจังหวัด
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการคัดกรองและดูแลสุขภาพช่องปาก ควรจัดอบรมและฝึกทักษะ
ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีทันตบุคลากรเป็นพี่เลี้ยงในการกำกับ ติดตาม เพื่อสร้างความมั่นใจและพัฒนา
ทักษะให้เชี่ยวชาญใน รวมถึงมีช่องทางหรือเวทีแลกเปลี่ยนถึงอุปสรรค ปัญหาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
และพัฒนางานต่อไป