Page 325 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 325
H5
จัดตั้งกลุ่ม Line เพื่อใช้ในการสื่อสารของครอบครัวผู้สูงอายุ อสม. และรพ.สต. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้
ในการดูแลสุขภาพช่องปาก พัฒนาระบบ ทันตกรรมฉุกเฉิน โดย อสม. บ่งชี้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพฟัน
ระดับวิกฤต ทำการส่งข้อมูลไป รพ.สต. ด้วยระบบออนไลน์ โดยผู้ป่วยสามารถเข้า รักษาที่ รพ.สต. ได้ทันที
วงรอบที่ 3 ได้กิจกรรมคือ พัฒนาระบบทันตกรรมฉุกเฉิน โดย อสม. บ่งชี้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพฟัน
ระดับวิกฤต ทำการส่งข้อมูลไป รพ.สต. ด้วยระบบออนไลน์ โดยผู้ป่วยสามารถเข้ารักษาที่ รพ.สต. ได้ทันที
จากการศึกษาทำให้สามารถพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในบ้านปะโค ประกอบด้วย
6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) พัฒนา อสม. ต้นแบบ โดยการอบรมให้ความรู้ อสม. จัดตั้งศูนย์ทันตกรรม
ภาคประชาชน (2) ระบบคัดกรองสุขภาพช่องปากออนไลน์ (3) พัฒนาระบบสื่อสาร (4) จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
รักษ์ฟัน (5) พัฒนาระบบทันตกรรมฉุกเฉิน โดย อสม. (6) จัดทำธรรมนูญสุขภาพหมู่บ้าน จากการพัฒนาระบบ
โดยการขับเคลื่อนชุดกิจกรรมพบว่าผลการประเมินสุขภาวะช่องปากผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับคราบจุลินทรีย์ที่ฟัน
และโรคปริทันต์อักเสบ มีค่าลดลงหลังขับเคลื่อนชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับความรู้ และ
การปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังขับเคลื่อนชุดกิจกรรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นหลังขับเคลื่อน
ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา
ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานตามระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ คือ ภาคีเครือข่าย
โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับ
ทีมและภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
ข้อเสนอแนะ
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางเพื่อแก้ไข้ปัญหา
ทั้งทางด้านทันตสาธารณสุข และปัญหาสาธารณสุขอื่นๆ ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงบริบทของชุมชน
2. กระทรวงสาธารณสุข ควรมีการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลทันตสุขภาพออนไลน์ ในระดับชุมชน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการในชุมชน และการจัดบริการตนเองของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ