Page 358 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 358

I18


                   ผลของการพัฒนารูปแบบการติดตามเฝ้าระวังยาที่มีพิษต่อไตโดยใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ

                                      ต่อการลดอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา

                      Results of the Development of an Intensive Nephrotoxic Drugs Monitoring
                              Using a Computational Program to Reduce the Incidence of

                                               Drug-Related Kidney Damage


                                          นางปิยะวรรณ  ศรีมณี, นางสาวกชกร เข่งคุ้ม, นางสาวชื่นสุมล มีสาวงษ์ และคณะ

                                                                              โรงพยาบาลนครปฐม เขตสุขภาพที่ 5
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ยาปฏิชีวนะที่มีพิษต่อไต ชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย
                  เฉียบพลัน ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้  โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ขาดการติดตาม
                  เฝ้าระวัง  และได้รับยาในขนาดไม่เหมาะสม  แม้ว่าในปี 2563 ได้ดำเนินการทบทวนและปรับแนวทาง

                  ในการติดตามยาที่มีพิษต่อไต  โดยการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร การเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ ฐานข้อมูล
                  ด้านยา  การประกาศนโยบายการติดตามการใช้ยาที่มีพิษต่อไตผ่านคณะทำงานความปลอดภัยด้านยา และ
                  การยกระดับการติดตามยาที่เป็นพิษต่อไตให้เป็นหนึ่งใน trigger tool ของงานบริบาลเภสัชกรรมแล้ว พบว่า
                  การติดตามการทำงานของไตที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดมีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 21.19 ในปี 2562

                  เหลือร้อยละ 5.19 ในปี 2564 แต่กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 18.95 ในปี 2566 ผู้ป่วยที่การทำงาน
                  ของไตเริ่มต้นก่อนใช้ยาปกติ หลังได้ยาครบกำหนด พบว่า มีปัญหาไตวายเฉียบพลันเพิ่มสูงขึ้น คือ 7 ราย
                  ในปี 2564, 10 ราย ในปี 2565, และ 20 ราย ในปี 2566  มีการฟอกไตฉุกเฉินจากการใช้ยาเพิ่มขึ้น
                  จาก 1 ราย ในปี 2564, 3 ราย ในปี 2565 และ 4 ราย ในปี 2566 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการ

                  ติดตามการทำงานของไตไม่เป็นไปตามข้อกำหนด  การแจ้งพิจารณาปรับขนาดยาค่อนข้างล่าช้า เนื่องจาก
                  ระบบการทำงานรูปแบบเดิมที่เก็บข้อมูลผ่านระบบเอกสาร คิดคำนวณค่าการทำงานของไตและขนาดยา
                  ทีละราย ทำให้การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยทำได้จำนวนจำกัด
                         การศึกษานี้จึงมุ่งพัฒนารูปแบบการติดตามเฝ้าระวังยาที่มีพิษต่อไต โดยการใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ

                  ตั้งค่าการแจ้งเตือนแบบเข้มงวด เพื่อให้การติดตามเฝ้าระวังสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมี
                  วัตถุประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา

                  วัตถุประสงค์
                         เพื่อพัฒนาระบบการติดตามเฝ้าระวังยาที่มีพิษต่อไตโดยใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ ส่งผลให้ผู้ป่วย

                  มีความปลอดภัยจากการใช้ยา และลดอุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตจากการใช้ยา ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์
                  จากยาที่สามารถป้องกันได้ (preventable Adverse drug events)

                  วิธีการศึกษา
                      •  รูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บข้อมูลการติดตามการใช้ยา ความเหมาะสมของ

                         ขนาดยา อุบัติการณ์การเกิดพิษต่อไตแบบไปข้างหน้า เปรียบเทียบการติดตามการใช้ยาระหว่างระบบ
                         เดิมที่มีการบันทึกในเอกสาร  มีการแจ้งติดตามการทำงานของไต และแจ้งปรับขนาดยาเมื่อค่า
                         การทำงานไตลดลงแล้ว เทียบกับระบบการติดตามแบบใช้โปรแกรมช่วยคำนวณผ่านโปรแกรม
   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363